Page 63 - kpiebook65030
P. 63
62 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
ผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้นต้องผ่านการตรวจคุณสมบัติจากพรรคคอมมิสนิสต์ก่อน
ตามสัดส่วนของสภา เช่น สัดส่วนชายหญิง สัดส่วนพรรคการเมือง สัดส่วนชนเผ่า
สัดส่วนผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ เมื่อคัดสรรเสร็จก็จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกตั้ง
ผู้แทนของตนเอง ระบบเช่นนี้จีนมองว่า สามารถสะท้อนความหลากหลาย
ในสังคม สะท้อนตัวแทนต่าง ๆ ของตนในสังคมได้มากกว่าระบบการเลือกตั้ง
ที่ไม่จำากัดคุณสมบัติผู้รับสมัคร ซึ่งผู้มีทุนทรัพย์ มีโวหาร มีชื่อเสียง มีแนวโน้ม
จะได้รับการเลือกตั้งมากกว่า
สภาปรึกษาที่ปรึกษาทางการเมืองของประชาชน : แม้ว่า
พรรคคอมมิวนิสต์ รัฐบาล และสภาผู้แทนประชาชนจะมีอำานาจค่อนข้างมาก
และมีความใกล้ชิดสนิทกันจนถูกมองว่า จีนใช้ระบอบการปกครองแบบ
เผด็จการ อย่างไรก็ตาม จีนเองก็มีกลไกวิธีการมีส่วนร่วมของประชนชนที่เรียกว่า
“สภาที่ปรึกษาทางการเมืองของประชนชน” ทำาหน้าที่ในการจัดทำากฎหมาย
ตัดสินปัญหาสำาคัญ ๆ ซึ่งสภานี้มีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ มณฑล จังหวัด
จนถึงอำาเภอ สมาชิกไม่ได้ผูกขาดโดยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น แต่ยัง
รวมไปถึงกลุ่มการเมือง กลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มศาสนา ฯลฯ ซึ่งทำาให้นโยบาย
ที่ออกมาสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนจีนได้เป็นอย่างดี
การสะท้อนความต้องการของจีนในรัฐธรรมนูญ :
รัฐธรรมนูญจีนมีแนวทางไม่เหมือนรัฐธรรมนูญของประเทศเสรีนิยม กล่าวคือ
จีนได้ส่งเสริมบทบาทของภาครัฐให้ทำาหน้าที่ปรึกษาหารือร่วม อาศัยทั้ง
องคาพยพของสังคมทำางานร่วมกัน ไม่ยอมให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในสังคม
มากนัก มากกว่าที่จะเน้นการแบ่งแยกอำานาจหรือตรวจสอบถ่วงดุลกันและกัน
อาจจะสะท้อนประวัติศาสตร์ความต้องการของจีนในอดีต ซึ่งการที่รัฐบาล
ราชวงศ์ชิงอ่อนแอ มีการเปลี่ยนแปลงขั้วอำานาจทางการเมือง คนในสังคมแตกแยก