Page 489 - kpiebook65064
P. 489
ภาคผนวก ช.
แบบสอบถามเพื่อประเมินความเสี่ยงของธรรมาภิบาลในระบบอภิบาลยา
ของประเทศไทย
คำชี้แจง: แบบสอบถามเพื่อประเมินความเสี่ยงของธรรมาภิบาลในระบบอภิบาล
ยาของประเทศไทย
วัตถุประสงค์
กรอบแนวคิดการศึกษาระบบธรรมาภิบาลยานี้จัดทำขึ้นภายใต้ “โครงการสังเคราะห์
ข้อเสนอเพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา” โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบ
สาธารณะสุข (สวรส.) เพื่อ 1) สำรวจความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับสถานการณ์ของระบบ
อภิบาลยาของไทยในปัจจุบัน 2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของท่านต่อปัจจัยสำคัญในการพัฒนา
ระบบธรรมาภิบาลยาของไทย 3) เพื่อวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงของระบบธรรมาภิบาลยาของ
ไทย เพื่อจะนำผลการวิเคราะห์ดังกล่าวไปประเมิน และให้ข้อเสนอเสนอแนะในการปรับปรุง
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ ไปสู่การมีระบบธรรมาภิบาลยาที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
ในอนาคต
คำจำกัดความ
1. ระบบอภิบาลยา (Pharmaceutical Governance System) คือ ระบบการบริหาร
จัดการ การควบคุม และการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับยาของภาครัฐที่เป็นอยู่จริง
ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมสามขั้นตอนได้แก่ 1) การขึ้นทะเบียนตำรับยา
(Registration) 2) การคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ (Selection) และ
3) การจัดซื้อ (Procurement) (โปรดดูใน กรอบแนวคิดการศึกษาธรรมาภิบาลใน
ระบบอภิบาลยา และกระบวนการอภิบาลยา) อย่างไรก็ดี คณะผู้วิจัยยังได้ให้ความ
สำคัญกับ 4) กระบวนการตรวจการ (inspections) และ 5) การส่งเสริมการขายของ
ภาคเอกชน (Promotion) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในระดับสากล แต่
ประเทศไทยยังไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จะมีการวิเคราะห์ถึง
ความมุ่งหวังต่อทั้ง 2 กระบวนการเพื่อพัฒนาระบบอภิบาลยาต่อไปโดยจะมีการสอบถาม
ต่อประเด็นดังกล่าวในแบบสอบถามนี้ต่อไป