Page 15 - kpiebook65069
P. 15
14 นวัตกรรมประชาธิปไตยในการเลือกตั้งท้องถิ่นของไทย (Democratic Innovations in Thailand’s Local Elections)
Smith (2009) กล่าวถึงนวัตกรรมประชาธิปไตยว่าประกอบไปด้วย 2 ส่วน
ในการออกแบบ ได้แก่ 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรงผ่านกระบวนการและ
กลไกของการมีส่วนร่วมรูปแบบต่าง ๆ และ 2. การท�าให้การมีส่วนร่วมทางการเมือง
กลายเป็นสถาบัน (institutionalized) เพื่อส่งเสริมให้เป็นค่านิยมหลักของประชาธิปไตย
กล่าวได้ว่า นวัตกรรมประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือหรือกระบวนการที่ถูก
ออกแบบขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการเสริมสร้างรากฐานทางประชาธิปไตยให้แข็งแรง
มากยิ่งขึ้นภายในสังคม ไม่ว่าจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งในสายสัมพันธ์ของสังคม
ปลูกฝังจิตส�านึกความเป็นพลเมืองและความเป็นนักประชาธิปไตย และผลักดันคุณค่า
ทางประชาธิปไตยไปสู่กระแสหลักของสังคม
นวัตกรรมประชาธิปไตยมีหลากหลายรูปแบบ ส่วนมากมักจะนึกถึงรูปแบบ
ของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิทัล แต่การออกแบบนวัตกรรม
เพื่อประชาธิปไตยในหลายกรณี ไม่ว่าจะได้มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาเป็นกลไก
หรือไม่ ล้วนแต่เป็นกระบวนการที่มีจุดประสงค์ในการน�าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในการตัดสินใจทางการเมืองตามหลักการของความเป็นประชาธิปไตยทั้งสิ้น
นวัตกรรมประชาธิปไตย สามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท (Smith, 2005) ได้แก่
1. นวัตกรรมการเลือกตั้ง (Electoral Innovations): เป็นนวัตกรรมที่มี
จุดประสงค์ในการเพิ่มจ�านวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
2. นวัตกรรมการปรึกษา (Consultation Innovations): เป็นนวัตกรรมที่
ต้องการจะแจ้งผู้มีอ�านาจตัดสินใจต่อมุมมองและความคิดของประชาชน
3. นวัตกรรมการปรึกษาหารือ (Deliberative Innovations): เป็นนวัตกรรม
ที่ต้องการจะน�าประชาชนมารวมกันเพื่อปรึกษาหารือในประเด็นเรื่องของ
นโยบาย และผลกระทบที่อาจจะส่งผลต่อผู้มีอ�านาจตัดสินใจ