Page 16 - kpiebook65069
P. 16

15



                  4.  นวัตกรรมการบริหารร่วมกัน (Co-governance Innovations): เป็นนวัตกรรม
                      ที่ต้องการจะให้บทบาทต่อประชาชนในการมีอิทธิพลต่อกระบวนการ

                      ตัดสินใจ

                  5.  นวัตกรรมประชาธิปไตยทางตรง (Direct democracy Innovations):
                      เป็นนวัตกรรมที่ต้องการให้อ�านาจแก่ประชาชนในการเป็นผู้ตัดสินใจ

                      ในประเด็นส�าคัญต่าง ๆ

                  6.  นวัตกรรมประชาธิปไตยอิเล็กทรอนิกส์ (E-democracy Innovations):
                      เป็นนวัตกรรมที่ต้องการจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

                      (Information and communication technology: ICT) เพื่อสร้าง

                      การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจ

                  นวัตกรรมทางการเลือกตั้ง โดยการศึกษาของ Smith (2005) ในบริบทของ

           สหราชอาณาจักร พบว่า กระบวนการเลือกตั้งและกฎเกณฑ์ทางการเลือกตั้งนั้น
           ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมานานหลาย 100 ปี ซึ่งกิจกรรมทางประชาธิปไตยดังกล่าวนี้

           กลายเป็นกระบวนการที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความทันสมัยและการเปลี่ยนแปลง
           ทางเศรษฐกิจสังคมได้ ฉะนั้นจึงได้มีการศึกษานวัตกรรมทางการเลือกตั้งจ�านวน

           8 กระบวนการ/เครื่องมือ โดยสามารถสรุปออกมาเป็น 4 ประเภท ได้แก่
                  1.  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการเลือกตั้ง เช่น เปลี่ยนมาลงคะแนนเสียง

                      ผ่านไปรษณีย์ หรือ e-voting
                  2.  เพิ่มตัวเลือกในการลงคะแนนเสียง อาทิ positive abstention

                  3.  ขอบเขตผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อาทิ ลดอายุของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อดึงดูด
                      กลุ่มเยาวชน

                  4.  ความสัมพันธ์ระหว่างเขตเลือกตั้งและผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง อาทิ
                      race-consciousness districting
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21