Page 17 - kpiebook65069
P. 17

16   นวัตกรรมประชาธิปไตยในการเลือกตั้งท้องถิ่นของไทย (Democratic Innovations in Thailand’s Local Elections)



               ทว่านวัตกรรมทางการเลือกตั้งของ Smith นั้นเป็นการมุ่งความสนใจไปยัง
        เครื่องมือเป็นส�าคัญ มองว่าการน�าเสนอเครื่องมือหรือสิ่งใหม่ ๆ นั้นมีผลต่อกระบวนการ

        เลือกตั้ง โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงวิธี ขั้นตอน และรูปแบบเพื่อดึงดูดให้คนมีส่วนร่วม

        มากกว่าการให้ความสนใจไปยังประชาชน หรือวิธีการเพื่อกระตุ้นให้พวกเขามีความรู้สึก
        สนใจและอยากจะออกมาเข้าร่วม


               ส�านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ได้ด�าเนินการออกแบบ
        พัฒนา และปรับปรุงนวัตกรรมที่หลากหลายร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภายในและ
        ต่างประเทศ โดยได้มุ่งความสนใจไปยังประเด็นเรื่องของการเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นส�าคัญ

        เนื่องจาก สังคมไทยเว้นว่างจากการเลือกตั้งท้องถิ่นไปนานถึง 7 ปี


               แม้ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นจะเป็นการเลือกตั้งในบริบทที่ใกล้ตัวกับประชาชน
        ในพื้นที่ที่สุด แต่มักจะถูกมองข้ามและไม่ได้รับความสนใจจากสื่อกระแสหลักเท่าที่ควร

        ฉะนั้นจึงต้องการน�านวัตกรรมมาปรับใช้ในบริบทของประเทศไทยเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน
        ตระหนักถึงความส�าคัญของการเลือกตั้งท้องถิ่น


               นวัตกรรมที่ได้มีการรังสรรค์ทั้งหมดจ�านวน 6 ชิ้น ล้วนเป็นนวัตกรรม
        ในประเภทของนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตยการเลือกตั้ง (Electoral Innovations) แม้จะ

        มีจุดประสงค์เดียวกันในการเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนและสนับสนุนให้มี
        การออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงที่เพิ่มมากขึ้น ทว่านวัตกรรมของส�านักนวัตกรรม

        เพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้าให้ความส�าคัญกับประชาชน (people-centric)
        มากกว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีการ ขั้นตอน หรือกระบวนการของการเลือกตั้ง


               โดยสามารถแบ่งประเภทของนวัตกรรมที่ทางส�านักได้มีการพัฒนาออกแบบ
        ออกเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ 1. นวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้

        ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งท้องถิ่น (knowledge-based) และ 2. นวัตกรรมเพื่อสนับสนุน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22