Page 202 - kpi12821
P. 202
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
การควบคุมพรรคการเมืองในเกาหลีใต้เป็นระบบแบ่งอำนาจกล่าวคือ คณะ
กรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ (National Election Commission) จะมีหน้าที่ตรวจ
สอบกิจการของสำนักงานใหญ่พรรคการเมืองที่ตั้งอยู่ ณ กรุงโซล เมืองหลวงของ
เกาหลีใต้ และคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับมหานครหรือจังหวัดจะทำหน้าที่ตรวจ
สอบสาขาพรรคที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ของตน โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของ
พรรคการเมือง (สำนักงานใหญ่) และสาขาพรรคระดับมหานครหรือจังหวัดที่จะต้อง
รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เกี่ยวข้อง ให้ทราบถึงเหตุที่จำนวนสาขาพรรค
ระดับจังหวัดลดลงเหลือไม่ถึง 5 สาขา หรือกรณีที่สาขาพรรคระดับจังหวัดซึ่งมีสมาชิก
ไม่น้อยกว่า 1,000 คนมีจำนวนไม่ถึง 5 สาขา ภายใน 14 วันนับแต่ปรากฏเหตุดังกล่าว
ในการนี้ ก.ก.ต. ระดับชาติ และ ก.ก.ต. มหานคร/จังหวัดต้องตรวจสอบเป็นประจำว่า
พรรคการเมืองปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดำรงสถานะพรรคการเมือง ตามข้อ 2.1.1 -
2.1.3 ดังกล่าวได้หรือไม่ และต้องตรวจสอบเพิ่มเติมเป็นครั้งคราวเมื่อมีเหตุสงสัย และ
ในกรณีที่พรรคการเมืองใดไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ ก.ก.ต. ระดับ
ชาติหรือ ก.ก.ต. มหานคร/จังหวัด แล้วแต่กรณี จะมีหนังสือเตือนแจ้งไปยัง
พรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมืองดังกล่าว 52
1 0
เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่ตรวจพบเหตุดังกล่าวและมีการแจ้ง
เตือนแล้ว หากพรรคการเมืองนั้นยังไม่สามารถพิสูจน์จนเป็นที่พอใจแก่ ก.ก.ต. ที่
เกี่ยวข้องได้ว่า ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างครบถ้วน ก.ก.ต. ระดับชาติหรือ
ก.ก.ต. ระดับมหานคร/จังหวัด แล้วแต่กรณี ก็จะมีคำสั่งเพิกถอนสาขาพรรคหรือ
พรรคการเมืองดังกล่าวออกจากทะเบียนพรรคการเมือง และประกาศต่อสาธารณชน
โดยไม่ชักช้า 53
อนึ่ง แม้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดกระบวนการเยียวยาคำสั่งของ ก.ก.ต.
สำหรับกรณีนี้เป็นการเฉพาะ แต่คำสั่งดังกล่าวก็ถือเป็นคำสั่งทางปกครองประเภทหนึ่ง
ดังนั้น พรรคการเมืองหรือสาขาพรรคการเมืองที่ถูกเพิกถอนออกจากทะเบียน
พรรคการเมืองย่อมสามารถนำคดีไปฟ้องต่อศาลปกครองประจำกรุงโซล (Seoul
Administrative Court) หรือศาลชั้นต้น (District Court) อื่นๆ ที่มีเขตอำนาจเหนือคดี
ดังกล่าวได้ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ทั้งนี้ ตามรัฐบัญญัติการฟ้องคดี
52 <http://www.nec.go.kr/nec_2009/english/political/political02_02/20100119/
1_1257.html#ht04>
53 P.P.A., art. 44 (2).