Page 197 - kpi12821
P. 197
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่นักการเมืองแต่ละคนหรือมุ้งการเมืองแต่ละมุ้งต้อง
33
รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเลือกตั้งทั้งหมดซึ่งเป็นเงินที่สูงมากด้วยตนเอง ไม่ว่า
จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกหรือผิดกฎหมาย นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อถอนทุนคืน เมื่อ
พรรคการเมืองชนะการเลือกตั้งและได้เป็นรัฐบาล ก็จะออกนโยบายที่เอื้อต่อกลุ่มทุน
หรือให้สัมปทานสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่กลุ่มทุน ซึ่งจะต่างตอบแทนคืนด้วยเงินที่ถูกนำ
34
ไปใช้ให้ชนะการเลือกตั้งและครองอำนาจรัฐต่อไปอีกทอดหนึ่ง เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีอีกวิธีการหนึ่งที่พรรคการเมืองใช้ตอบแทนบรรดาผู้อุปถัมภ์พรรคทั้ง
หลายด้วย การให้ตำแหน่งสำคัญๆ ในรัฐบาล
35
ดังนั้น รัฐธรรมนูญและกฎหมายพรรคการเมืองเกาหลีใต้จึงมุ่งทำให้ระบบ
การเงินของพรรคการเมืองและการใช้จ่ายเงินในการเลือกตั้งมีความโปร่งใส ตรวจสอบ
ได้ และมุ่งป้องกันการครอบงำพรรคโดยกลุ่มนายทุนผ่านการบริจาค รวมทั้ง จึงมุ่งเน้น
36
หน้าที่ของพรรคการเมืองในการสร้างเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน และการ
สร้างกลไกเพื่อรักษาความเป็นประชาธิปไตยในพรรคการเมือง 37
1.3 กฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมือง
1
รัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ ค.ศ. 1987 ตระหนักถึงความสำคัญของพรรค
38
การเมืองในฐานะที่เป็นกลจักรสำคัญของความอยู่รอดและความสำเร็จของการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยจึงได้บัญญัติหลักการสำคัญเกี่ยวกับพรรคการเมืองไว้ใน
รัฐธรรมนูญหลายมาตรา อันได้แก่ หลักระบบหลายพรรคการเมือง (Multi-party
System) หลักเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองและเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรม
ของพรรคการเมือง หลักความเสมอภาคในโอกาสทางการเมือง หลักการคุ้มครองและ
33 Jung Bock Lee, เรื่องเดิม, น. 156.
34 David C. Kang, เรื่องเดิม, น. 84
35 เรื่องเดียวกัน, น. 84 – 86.
36 C.R.K., art. 8 (3).
37 C.R.K., art. 8 (2).
38 รัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ ค.ศ. 1948 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกหลังจากได้รับเอกราช โดยได้มีการแก้ไข
เพิ่มเติมรวม 9 ครั้ง การแก้ไขในครั้งที่ 5, 6, 7, 8 และ 9 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 1987 เป็นการปรับปรุงใหม่
ทั้งฉบับ ผู้สนใจลักษณะเฉพาะของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ โปรดดู Soong Hoom Kil, “Development of
Korean Politics – A Historical Profile,” น. 36 – 37 ใน Soong Hoom Kil and Chung-in Moon,
เรื่องเดิม.