Page 10 - kpi15428
P. 10
พูดถึง “สิทธิชุมชน” แบบเข้าใจได้ง่าย อาจหมายถึง
หากอำนาจหรือผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่รวมตัวกันเป็นชุมชน
ที่ไม่ใช่อำนาจของใครคนใดคนหนึ่ง ซึ่งในประเทศไทยเราแต่เดิม ชุมชน
มีสิทธิหรืออำนาจที่จะใช้ ดูแล ควบคุม หรือรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมในชุมชนได้เอง อำนาจแบบนี้เราเรียกว่า สิทธิตามสภาพ
(De facto right) กับอำนาจอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า สิทธิตามกฎหมาย
(De jure right) เป็นสิทธิที่มีการกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
แต่การใช้สิทธิตามกฎหมายมักไม่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ ทำให้สิทธิตาม
สภาพที่มีอยู่ในชุมชนถูกนำมาใช้จนเหมือนว่าสังคมไทยเรายอมรับสิทธิของ
ชุมชนที่เป็นสิทธิตามสภาพ เพื่อให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรในสังคม
ได้ทั่วถึงกัน
การทำความเข้าใจสิทธิชุมชน ผู้เขียนเห็นว่าควรเข้าใจความเป็น
ชุมชนก่อน คำว่า “ชุมชน” คือ กลุ่มคนที่รวมตัวกัน มีเป้าหมายร่วมกัน
ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ร่วมกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีการติดต่อสื่อสาร
กันเป็นปกติและต่อเนื่อง และคำว่า “ชุมชน” ไม่ได้จำกัดขอบเขตแค่ชุมชน
ชนบท แต่ยังรวมไปถึงชุมชนเมือง ชุมชนที่รวมกันเป็นเครือข่ายท้องถิ่น
ชุมชนที่มีหลายชาติพันธุ์ ฯลฯ ซึ่งสิทธิชุมชนนี้จะเป็นสิทธิจากความสัมพันธ์
ของผู้คนในชุมชน
แล้วสิทธิของชุมชนนั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร? อย่างแรก คือ สิทธิ
ชุมชนเป็นเชิงซ้อน เพราะภายใต้ข้อตกลงร่วมกันยังมีสิทธิอีกหลายประเภท
ที่สัมพันธ์กัน เช่น สิทธิการครอบครอง ใช้ และจัดการ โดยแต่ละสิทธิไม่ได้