Page 11 - kpi15428
P. 11
แยกออกจากกัน เพราะมีกติการ่วมของชุมชน และสิทธิชุมชนอาจไม่ใช่สิทธิ
แบบเบ็ดเสร็จ (Absolute rights) อย่างที่สอง
สิทธิชุมชนเน้นการมี
ส่วนร่วม คือ ต้องการให้คนหรือหน่วยงานภายนอกมาร่วมสนับสนุน ถ่วงดุล
ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ แต่จะไม่เปิดให้เข้ามาละเมิดสิทธิ
ในการมีชีวิตอยู่รอด สิทธิเรื่องปากท้อง หรือสิทธิในการดำรงความสัมพันธ์
ทางสังคม เพราะสิทธิชุมชนจะให้ความสำคัญกับผู้ที่ใช้ทรัพยากรเพื่อความ
อยู่รอดของชุมชนก่อน (กิตติศักดิ์ ปรกติ, 2550)
เมื่อเรารู้ถึงความหมาย และลักษณะของสิทธิชุมชนจนเข้าใจบ้างแล้ว
ก็จะเห็นว่า ไม่น่าจะมีอะไรวิตกกังวลเลยเกี่ยวกับสิทธิชุมชนจนถึงขั้นต้องมา
เรียนรู้หรือรื้อฟื้นกันใหม่ เพราะประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคม
ชนบทก็มีความเป็นชุมชนอยู่มาก แต่หากเรารู้ถึงเหตุผลและความจำเป็น
ของสิทธิชุมชนก็จะทำให้เราเข้าใจความสำคัญของสิทธิของชุมชนมากขึ้น
เมื่อมีความเข้าใจก็จะช่วยนำไปสู่การยอมรับซึ่งกันและกัน และลดความ
ขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นได้
ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจต่อสิทธิชุมชนเช่นกัน และเมื่อสิทธิชุมชน
เป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญจึงเป็นตัวกระตุ้นหนึ่งที่ทำให้เกิดการ
ตื่นตัวในเรื่องสิทธิชุมชนในประเทศไทย อย่างเช่นการเข้าร่วมภาคยานุวัติ
ต่อกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองใน พ.ศ.2539
จนทำให้เกิดข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2540 เพื่อรับรองการมีอยู่ของชุมชน
ตามกฎหมาย (Legal entity) โดยมีบทบัญญัติที่ให้ความสำคัญกับหน้าที่
ของประชาชนชาวไทยในการพิทักษ์ ปกป้อง อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ