Page 12 - kpi15428
P. 12
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชน จนกระทั่งรัฐธรรมนูญ
ฉบับ พ.ศ. 2550 ในปัจจุบัน ก็มีบทบัญญัติที่กล่าวถึงสิทธิชุมชนในมาตรา
66 และ 67 ที่เปิดโอกาสให้ชุมชนมีสิทธิในการอนุรักษ์ มีส่วนร่วมในการ
จัดการ คุ้มครอง ส่งเสริม และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม เพื่อให้บุคคลและชุมชนสามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยปกติ และ
ชุมชนยังมีสิทธิที่จะให้หน่วยงานของรัฐทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติ
หน้าที่สอดคล้องตามบทบัญญัติดังกล่าว (กิตติศักดิ์ ปรกติ, 2550,
น.63-66; 121-122)
นอกจากแรงผลักจากภายนอกที่ทำให้ประเทศไทยต้องเดินตาม
กระแสนั้นแล้ว แรงกดดันจากภายในประเทศเองก็มีผลให้เกิดความขัดแย้ง
และเรียกร้องหาสิทธิของชุมชน แรงกดดันจากภายในประเทศนี้เริ่มมาจาก
สังคมขยายตัว เกิดความทันสมัย มีระเบียบบริหารราชการเข้ามา มีความ
เป็นอุตสาหกรรม และผู้ปกครองรัฐได้กลายเป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือชุมชน
จนก่อให้เกิดปัญหากระทบต่อความอยู่รอด ปากท้อง หรือความสัมพันธ์กัน
ในชุมชน ดังนั้น เราจึงพบเห็นชุมชนออกมาเรียกร้องสิทธิในโครงการต่างๆ
เช่น โครงการท่อส่งก๊าซจากประเทศพม่า (2536-ปัจจุบัน) การสร้าง
เขื่อนดินกั้นน้ำทะเลที่สมุทรปราการ (2540) การสร้างถนนเข้าไปในพื้นที่ป่า
(2521-2534) การฝังกากสารพิษที่จังหวัดกาญจนบุรี (2534) เขื่อนแม่วงศ์
จังหวัดนครสวรรค์ (2532) การบุกรุกพื้นที่ชายคลองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(2540) การทำลายพื้นที่ชายฝั่งดอนหอยหลอดจังหวัดสมุทรสงคราม
(2539) เป็นต้น (ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และวัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์, 2548;
ชลธิรา สัตยาวัฒนา, 2546)
ผลกระทบต่อสุขภาพก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ชุมชนออกมา
เรียกร้องสิทธิ เพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ดังกรณีชาวชุมชน
มาบตาพุด จังหวัดระยองที่อยู่ท่ามกลางฐานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กรณี
หมู่บ้านคลิตี้ที่ได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อนสารตะกั่วในแหล่งน้ำจาก