Page 20 - kpi15476
P. 20
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 19
เพื่อให้เป็นแบบอย่างของการปกครองในระดับชาติต่อไป พระราชกรณียกิจเหล่านี้ นอกจากจะ
สอดคล้องกับแนวคิด “ธรรมราชา” แล้ว ยังนับเป็นการวางรากฐานที่สำคัญให้กับการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยที่มีธรรมะเป็นพื้นฐานหรือธรรมาธิปไตยอีกด้วย
ประเด็นการอภิปรายในห้องย่อย
1. แนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด้านการส่งเสริมการศึกษา การเสริมสร้างวัฒนธรรมค่านิยมประชาธิปไตย และการ
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบของเทศบาล
2. แนวทางการส่งเสริมการศึกษา การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ในการปกครองตนเองในการปกครองท้องถิ่น และการสร้างค่านิยมวัฒนธรรม
ประชาธิปไตย
ห้องย่อยที่ 4 ธรรมาภิบาลในระบบราชการไทย
การบริหารงานบุคคลในระบบราชการพลเรือนไทยปัจจุบัน มีวิวัฒนาการมาจากการบริหาร
ราชการในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้
ทรงมองการณ์ไกลและพระราชทานแก่ประชาชนโดยมิต้องเรียกร้อง ด้วยทรงเล็งเห็นว่าในช่วง
เวลาก่อนหน้านั้น การบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือน ยังขาดระเบียบบรรทัดฐานให้ยึดถือ
ปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเรื่องการรับบุคคลเข้ารับราชการ การรับเงินเดือน วินัย
การลงโทษ หรือการออกจากราชการ แต่ละกระทรวงต่างปฏิบัติตามระเบียบหรือประเพณีของ
ส่วนราชการของตน ขาดกฎเกณฑ์กลางซึ่งควรกำหนดให้มีขึ้น ประกอบกับบุคคลทั่วไปก็ได้รับการ
ศึกษามากขึ้น จึงควรเปิดโอกาสให้เข้ารับราชการโดยเลือกสรรอย่างเป็นกลางและยุติธรรม
ให้ถือว่าเป็นสิทธิของประชาชนทุกคนตามหลักความเสมอภาคในโอกาส อีกทั้งยึดเป็นอาชีพได้
โดยไม่ต้องแสวงหาผลประโยชน์ในทางอื่น พระองค์ได้ทรงวางรากฐานระบบข้าราชการพลเรือนไว้
โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2471 โดยมี
หลักการสำคัญ 4 ประการคือ 1) ให้ข้าราชการพลเรือนทั้งหมดอยู่ภายใต้ระบบเดียวกัน
2)ให้เลือกสรรผู้มีความรู้ ความสามารถเข้ารับราชการโดยเสมอภาคและยุติธรรม
3) ให้ข้าราชการพลเรือนรับราชการเป็นอาชีพ 4)ให้ข้าราชการพลเรือนมีวินัย
ประเด็นการอภิปรายในห้องย่อย
1. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับแนวคิดในการวางรากฐานข้าราชการ
พลเรือนและผู้ริเริ่มในการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
2. แนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างคุณธรรม และจริยธรรมการบริหารงานบุคคล
ในระบบราชการไทย เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่สากล