Page 21 - kpi15476
P. 21

20     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15

                  ห้องย่อยที่ 5 การวางรากฐาน ในการพัฒนาสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคม


                       พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชกรณียกิจหลายประการ อันถือเป็น

                  พระมหากรุณาธิคุณ ซึ่งมิเพียงส่งผลดีแก่พสกนิกรแต่ในช่วงรัชสมัยของพระองค์เท่านั้น แต่มีผล
                  ต่อประชาชนชาวไทยในปัจจุบัน โดยทรงตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งให้กับ
                  สถาบันพื้นฐานของสังคม โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติที่คุ้มครอง ส่งเสริมสิทธิ

                  สตรีและสถาบันครอบครัว อาทิ พระราชบัญญัติว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิง พ.ศ.2471
                  พระราชบัญญัติปรามการทำให้แพร่หลายและการค้าวัตถุอันลามก พ.ศ. 2471 เพื่อคุ้มครอง

                  สิทธิสตรีและเด็ก พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 2471 อันเป็นการ
                  ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร ตามความสมัครใจ ทั้งยังทรง
                  ปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างโดยทรงมีแต่พระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียว นอกจากนี้ ยังทรง

                  วางรากฐานของแนวทางการดำเนินงานของรัฐที่ต้องเข้าไปคุ้มครองการดำเนินการของหน่วยต่างๆ
                  ในสังคมเพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค

                  เป็นครั้งแรก โดยได้มีการการตราพระราชบัญญัติ หางน้ำนม พ.ศ. 2470 ขึ้น เพื่อควบคุมการ
                  นำเข้าและบริโภคหางน้ำนมที่นิยมนำมาเลี้ยงทารกในขณะนั้น กำหนดกิจการสำคัญที่ยังมีผลอยู่ใน
                  ปัจจุบันเช่น กิจการสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 รวมถึงพระราชบัญญัติ

                  ควบคุมการค้าขายอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ.
                  2471 เพื่อขยายบทบาทของรัฐในการคุ้มครองสวัสดิการของประชาชนจากการดำเนินกิจการที่เป็น

                  บริการสาธารณะหรือกิจที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น การประปา การไฟฟ้า
                  การรถไฟ การเดินอากาศ การชลประทาน การประกันภัย ส่งเสริมรักษาศิลปวัฒนธรรมของ
                  ประเทศ โดยทรงตราพระราชบัญญัติตั้งพิพิธภัณฑ์สถานสำหรับพระนคร พ.ศ. 2469 และ

                  พระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งโบราณและศิลปวัตถุออกนอกประเทศ พ.ศ.2469 สิ่งเหล่านี้
                  ล้วนเป็นพื้นฐานที่สำคัญเพื่อให้ประชาชนสามารถพัฒนาตนเองได้ และนำไปสู่สังคมที่มีคุณภาพ

                  มากขึ้น

                       ประเด็นการอภิปรายในห้องย่อย


                         1. แนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในการ

                           วางรากฐานการพัฒนาสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคม

                        2. บทบาทของรัฐในการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม

                           การส่งเสริมคุณภาพชีวิต การสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว การคุ้มครอง
                           ผู้บริโภค และการคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนและการจัดบริการสาธารณะ
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26