Page 315 - kpi15476
P. 315
314 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
1.2 โดยการแบ่งแยกอำนาจแนวนอน (Horizontal Separation of Powers) สภา
อภิรัฐมนตรีเป็นองค์กรตัวกลางกันกระทบ (Buffer) ซึ่งทำหน้าที่ถ่วงดุลมิให้
เกิดความขัดแย้งด้านการใช้อำนาจในความสัมพันธ์ระหว่างสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติที่ประกอบด้วยสมาชิกทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรกับ
นายกรัฐมนตรีซึ่งต่างก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเช่นกัน โดย
สภาอภิรัฐมนตรีเป็นทั้งองค์กรตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐของ
องค์อำนาจ 3 ฝ่ายคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
ให้เกิดความเสมอภาคในการแบ่งแยกอำนาจแนวนอนได้
2) อำนาจการไกล่เกลี่ย (Mediation Authority)
ในภาวะวิกฤติของแผ่นดินที่เกิดมาจากวิกฤติการณ์ทางการเมือง (Political Crisis)
และ/หรือ วิกฤติการณ์รัฐธรรมนูญ (Constitutional Crisis) สภาอภิรัฐมนตรีซึ่งมี
อำนาจการเมือง (Political Powers) และอำนาจปกครองแผ่นดิน (Governance
Powers) สามด้านคือ อำนาจกึ่งนิติบัญญัติ (Quasi-legislative Powers) อำนาจ
กึ่งบริหาร (Quasi-executive Powers) และอำนาจกึ่งตุลาการ (Quasi-judicial
Powers) อาจใช้อำนาจการไกล่เกลี่ย (Mediation Authority) ในการแก้ไขปัญหา
วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างองค์กรนิติบัญญัติ องค์กร
บริหาร และองค์กรตุลาการ หรือระหว่างองค์กรรัฐบาลส่วนกลางกับองค์กรการ
ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการภิวัตน์ (Judicial
Activism) หรือ อำนาจตรวจสอบทบทวนทางตุลาการ (Judicial Review) ร่วมกับ
ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (Guardian of the
Constitution) และพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข ในการผนึกกำลังเพื่อแก้ไขป้องกันและขจัดปัญหาเผด็จการรัฐประหาร
(Coup d’état Dictators) ที่เป็นทรราชเสียงข้างน้อย (Tyranny of Minority)
นอกรัฐสภาและปัญหาเผด็จการเสียงข้างมาก (Majoritarian Dictators) ที่เป็น
ทรราชเสียงข้างมาก (Tyranny of Majority) ในรัฐสภา ซึ่งเป็นวงจรอุบาทว์ของ
การเมืองไทยมาเป็นเวลายาวนานกว่า 80 ปีมาแล้วให้สำเร็จได้
3. บทสรุปและข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยเห็นว่า การสถาปนาสภาอภิรัฐมนตรีถือ
เป็นนวัตกรรมกลไกการปฏิรูปประชาธิปไตยไทย เพื่อให้เกิดการอภิวัฒน์ระบอบประชาธิปไตย
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ประชาธิปไตย โดยมีข้อเสนอแนะว่า ควรจะใช้กลไกสภาอภิรัฐมนตรีเป็นจักรกลสำคัญในการ
สมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนม
ยงค์ ผู้นำคณะราษฎร ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองให้เป็น
พิทักษ์รักษาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อสร้าง
สังคมธรรมาธิปไตยให้เกิดขึ้นในระบบการเมืองไทย