Page 310 - kpi15476
P. 310

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   309


                                    ผู้ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาอภิรัฐมนตรีจะต้องลา
                                    ออกจากตำแหน่งเดิมของตนก่อนเข้าดำรงตำแหน่งประธานสภาอภิรัฐมนตรี ทั้งนี้

                                    ประธานและสมาชิกสภาอภิรัฐมนตรีมีวาระดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้เพียง
                                    2 วาระๆ ละ 5 ปี หากจะเป็นสมาชิกสภาอภิรัฐมนตรีเกินกว่า 2 วาระจะต้อง
                                    เว้นวรรคไปก่อน 5 ปี โดยอาจจะถูกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและองค์กรตาม

                                    รัฐธรรมนูญที่มีอำนาจตรวจสอบหรือประชาชน 10,000 คนเข้าชื่อยื่นถอดถอน
                                    (Impeachment) ต่อศาลยุติธรรมสูงสุดได้


                            2.2.2  บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสภาอภิรัฐมนตรี


                                สภาอภิรัฐมนตรีเป็นสภาการแผ่นดินสูงสุดผู้ใช้อำนาจรัฏฐาภิบาล (Sovereign
                      Governance) ซึ่งเป็นองค์อำนาจอธิปไตยฝ่ายที่สี่ มีบทบาทสำคัญในการพิทักษ์

                      รัฐธรรมนูญ(Guardian of the Constitution) และระบอบประชาธิปไตยร่วมกับศาลรัฐธรรมนูญ
                      และตรวจสอบการใช้อำนาจนิติบัญญัติ (Legislative Power) อำนาจบริหาร (Executive Power)
                      อำนาจตุลาการ (Judicial Power) ซึ่งเป็น 3 องค์อำนาจอธิปไตยดั้งเดิม โดยการเลือกตั้งองค์กร

                      อิสระตามรัฐธรรมนูญเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และมีอำนาจการสอบคัดสรรแห่งชาติ
                      (National Examination) เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าสู่ตำแหน่งเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตซื้อ

                      ขายตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้น สภาอภิรัฐมนตรีจึงมีอำนาจหน้าที่สำคัญ 6 ประการคือ
                                     1)  อำนาจการเลือกตั้ง (Election Authority)
                                     2)  อำนาจการเลือกสรร (Selection Authority)

                                     3)  อำนาจการสอบคัดสรร (Examination Authority) และ
                                     4)  อำนาจการตรวจสอบ (Supervision Authority) รวมทั้งอำนาจพิเศษอีก 2

                                        ประการ
                                ทั้งนี้ สรุปสาระสำคัญได้จากแผนภูมิที่ 3 ได้ดังนี้                                        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   305   306   307   308   309   310   311   312   313   314   315