Page 369 - kpi15476
P. 369

3       การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       ๏ ผู้จัดทำบทความพิจารณาเห็นว่า หากนำแนวคิดและหลักการสิทธิมนุษยชนมาใช้ในการ
                  พัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยจะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตาม

                  แนวธรรมราชาที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงใช้ในการปกครองประเทศและสอดรับกับพันธกรณี
                  และหลักการสิทธิมนุษยชนในระดับสากลที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี


                       ๏ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความ
                  ยากจนขั้นรุนแรง โดยกำหนด The Guiding Principles on Extreme Poverty ซึ่งสอดคล้องกับ

                  หลักการว่าด้วยธุรกิจกับการเคารพสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งเน้น
                  ผลกระทบจากการประกอบธุรกิจ พร้อมกับเน้นย้ำหลักการว่าด้วยการคุ้มครอง (Protect)
                  การเคารพ (Respect) และการเยียวยา (Remedy) ผู้ที่ได้รับผลกระทบซึ่งรวมถึงกลุ่มบุคคล

                  ด้อยโอกาสด้วย


                       ๏ นาง NaviPillay ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้กล่าวถ้อยแถลงใน
                  พิธีเปิดการประชุมประจำปีของการประชุมคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ ว่าด้วย
                  สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (The International

                  Coordinating Committee of National Institutions for the Promotion and Protection of
                  Human Rights –ICC) ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 ที่นครเจนีวา ใจความตอนหนึ่งว่า

                  “สถาบันสิทธิมนุษยชนจะต้องเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                  ในระดับชาติ โดยทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างระบบสากลกับการปฏิบัติหน้าที่ภายในประเทศ
                  โดยการแสดงบทบาทที่ยึดมั่นในหลักนิติธรรม เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน”


                       ๏ ในการประชุมครั้งเดียวกัน ผู้แทนสำนักงาน UNDP New York ได้นำเสนอแนวคิด

                  เกี่ยวกับ Post-2015 Development Agenda ซึ่งเป็นผลจากการประชุม Global Thematic
                  Consultation on Governance and the Post-2015 Framework ซึ่งจัดโดย Pan-African
                  Parliament


                             -  การพัฒนาจะต้องเน้นไปที่การมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-centered)

                               อยู่บนพื้นฐานแนวคิดสิทธิมนุษยชน สามารถตอบสนองได้อย่างพอเพียงต่อ
                               สถานการณ์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการเปลี่ยนแปลงทางด้าน

                               นิเวศวิทยาของประเทศและภูมิภาคทั้งยังให้ความสำคัญว่า

                              -   การมีธรรมาภิบาล และความเป็นประชาธิปไตย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และ

                               เป็นศูนย์กลาง ที่จะประกันได้ว่าประชาชนในโลกจะมีชีวิตที่ดีขึ้น ตอบสนองความ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย       -   ความยากจนและความไม่เท่าเทียมกัน จะต้องได้รับการแก้ไขผ่านแนวทางบูรณาการ
                               ต้องการของประชาชนและชุมชน สนับสนุนการมีส่วนร่วม ขจัดปัญหาประเด็น
                               อำนาจที่ไม่สมดุล





                               ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ ความยุติธรรมทางสังคมสิ่งแวดล้อม
   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373   374