Page 366 - kpi15476
P. 366

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   3 5


                            ๏ ประมาณ 50 ปี ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรของประเทศไทยมากพอ
                      สมควรโดยมีประชากรเพิ่ม 2.5 เท่า จาก 27 ล้านเป็น 63 ล้านเศษรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น

                      7.5 เท่า คนจนปี 2529 มี 24 ล้าน ปี 2550 มี 5.9 ล้าน

                              หากเปรียบเทียบความจน ความรวย พบว่า


                              ปี 2519 คนที่มีระดับรายได้ 20%ล่างสุด  ได้ส่วนแบ่ง 6.1% ของรายได้ทั้งหมด

                      ในทางกลับกันคนที่มีระดับรายได้ 20%บนสุด มีส่วนแบ่งรายได้ 49.3% ของรายได้ทั้งหมดคิด
                      เป็นสัดส่วน 8.08 เท่าระหว่างคนรวยสุดและจนสุด


                              ปี 2554 คนที่มีระดับรายได้ 20%ล่างสุด ได้ส่วนแบ่ง 4.6% ของรายได้ทั้งหมด
                      ในทางกลับกันคนที่มีระดับรายได้ 20%บนสุด มีส่วนแบ่งรายได้ 54.3% ของรายได้ทั้งหมดคิด

                      เป็นสัดส่วน 11.80 เท่าระหว่างคนรวยสุดและจนสุด มากกว่าสัดส่วนของปี 2519 ราว 37%


                              นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้เปิดเผยเมื่อไม่นานมานี้ว่า  หนี้ภาคครัวเรือน
                      เพิ่มสูงขึ้น


                              แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาที่ผ่านมาทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน และ
                      ดูเหมือนมีแนวโน้มว่าหนี้ภาคครัวเรือนจะสูงขึ้นด้วย อาจกล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาที่ไม่สมดุลและ
                      เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยมากขึ้น


                      ผลกระทบ


                            ๏ วิเคราะห์เชิงโครงสร้างถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น จะพบว่าเกิดความไม่สมดุลใน

                      4 ประการ ได้แก่
                                 1) เกิดความไม่สมดุลในการพัฒนาระหว่างเมืองและชนบทและมีแนวโน้มที่ความไม่

                                    สมดุลนี้จะมีมากขึ้น
                                2) ความไม่สมดุลของการพัฒนากับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                                3) ความไม่สมดุลในการกระจายรายได้

                                4) เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และแบบแผนการประพฤติ
                                    ปฏิบัติของคนในสังคมไปในทางที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ


                            ๏ วิเคราะห์จากผลกระทบที่ปรากฏในระบบสังคมไทย และสิทธิมนุษยชน


                              สถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันสังคมแรกเริ่มที่เล็กที่สุดและมีความสำคัญที่สุด เป็น
                      สถาบันพื้นฐานที่หล่อหลอมความเป็นมนุษย์ ถ่ายทอดค่านิยม ปลูกฝังความเชื่อ สร้างเสริม

                      ทัศนคติ กำหนดบุคลิกภาพ วิธีประพฤติปฏิบัติตน รวมทั้งการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมให้แก่
                      สมาชิกรุ่นใหม่ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมและประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยมีการ
                      เปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัว รูปแบบของครอบครัว เช่น เปลี่ยนจากครอบครัวขยาย                         เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      อันประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก และเครือญาติ เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น การปฏิสัมพันธ์ของ
   361   362   363   364   365   366   367   368   369   370   371