Page 364 - kpi15476
P. 364

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   3 3


                                อริสโตเติล กล่าวไว้ว่า “ไม่ควรที่จะมีความแตกต่างกันในการปฏิบัติกันระหว่าง
                      มนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกันในทุกด้าน ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับสิ่งที่จะปฏิบัติต่อพวกเขา

                      ถึงแม้ว่าในด้านอื่น (ที่ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งที่จะปฏิบัติต่อพวกเขา) พวกเขาจะไม่เท่าเทียม
                      กันก็ตาม ในอีกแง่หนึ่งในเรื่องใดก็ตามที่พวกเขาไม่เท่าเทียมกันในด้านที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งที่
                      จะปฏิบัติต่อพวกเขา พวกเขาควรที่จะได้รับการปฏิบัติ (ที่แตกต่าง) ตามส่วนของความไม่เท่า

                      เทียมกันซึ่งสัมพันธ์กันของพวกเขา”


                            ๏ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ก็ได้ดำเนินรอยตามธรรมราชาในอดีต
                      โดยพระปฐมบรมราชโองการที่ทรงเปล่งวาจาไว้จะเห็นคำสำคัญ คือ “ครองแผ่นดินโดยธรรม”
                      เพื่อประโยชน์สุขแห่ง “มหาชนชาวสยาม” ในฐานะองค์พระประมุขของประเทศที่มีการปกครอง

                      ระบอบประชาธิปไตย ด้วยสิทธิและหน้าที่ของพระองค์มีเพียง 3 ประการใหญ่ๆ คือ 1) การสั่งสอน
                      2) การให้คำปรึกษาแก่คนทั่วไป 3) เมื่อทรงเห็นอันตรายต่างๆ จะทรงเตือนแต่ พระราชกรณียกิจ

                      พระราชดำรัส พระบรมราโชวาทที่พระราชทานในวโรกาสต่างๆ และโครงการตามพระราชดำริ
                      เป็นศาสตร์แห่งการพัฒนาที่ส่งผลต่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน และนำมาซึ่งความสมดุล
                      มั่นคง และยั่งยืน ธ ผู้ไม่เคยละทิ้งประชาชน ดังพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2489 ว่า

                      “ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะละทิ้งอย่างไรได้” พระองค์จึงทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ
                      ของคนไทยทั้งชาติตราบเท่าทุกวันนี้


                              ผู้เขียนได้เคยไปศึกษาดูงานโครงการพระราชดำริบางแห่ง แล้วพบว่ามีการให้ประชาชน
                      ช่วยกันรักษาและคืนความสมดุลสู่ธรรมชาติ มีการใช้ธรรมชาติจัดการธรรมชาติ ล้วนเป็นรูปธรรม

                      ที่จับต้องได้ ประจักษ์ได้จริงว่าเป็นรูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติ
                      และสิ่งแวดล้อม อันเป็นมรดกของชาติอย่างหนึ่งที่ต้องส่งต่อคนรุ่นต่อไป



                      2. การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเปลี่ยนแปลง
                      และผลกระทบ




                            ๏ ปี พ.ศ.2504 ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเศรษฐกิจ ความร่ำรวยและ
                      ความทันสมัย และหลายรัฐบาลที่ผ่านมาได้เลือกดำเนินนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

                      อุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก การส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติและทุนขนาดใหญ่ เน้นการ
                      เจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ทำให้
                      เศรษฐกิจภาคบริการ ภาคการส่งออก และอุตสาหกรรมในเมืองเติบโต จนต่อมามีสถานการณ์

                      การขยายตัวขององค์กรทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองระดับโลก การขยายตัวด้านเศรษฐกิจ เช่น
                      องค์กรการค้าโลก (WTO) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

                      ที่ผู้ผลิตคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ (Innovations) มากมาย สถานการณ์ในประเทศก็มีการจ้างงาน
                      เพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าเศรษฐกิจภาคเกษตรกรและชนบท


                            ๏ ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคน                     เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                      จำนวนมากที่ต้องเคลื่อนย้ายไปหางานทำในภาคบริการและอุตสาหกรรมในเมือง มีผลต่อการ
   359   360   361   362   363   364   365   366   367   368   369