Page 411 - kpi17968
P. 411
400
กฎหมายระหว่างประเทศหลายฉบับพูดถึงสิทธิพลเมืองไว้เช่นกัน เช่น
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก จะมีเรื่องสิทธิพลเมืองพอสมควร แต่อาจจะไม่ใช่สิทธิ
พลเมืองที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม เช่น สิทธิเด็กที่เกิดมาแล้วต้องมีสูจิบัตร ชื่อ
นามสกุล สัญชาติ เป็นต้น ก็ถือว่าเป็นสิทธิพลเมือง แต่โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงสิทธิ
พลเมือง ก็อาจจะไม่ได้คำนึงถึงกฎหมายระหว่างประเทศฉบับอื่นๆ มากนัก
หลักการ น าน หลัก ิ ธิมน ยชน
1. ความเท่าเทียม คนทุกคนมีความเท่าเทียมที่จะได้รับความคุ้มครองจาก
รัฐ สิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยต้อง
ได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน
2. การไม่เลือกปฏิบัติ เป็นปัญหาใหญ่ในกระบวนการยุติธรรม เช่น
คนมีชื่อเสียงแล้วถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดจะดำเนินคดีของเขารวดเร็วมาก ในขณะที่
หากเป็นคนธรรมดาการดำเนินคดีอาจยืดเยื้อหลายปี จึงมีการตั้งคำถามว่า การไม่
เลือกปฏิบัติของคนชาตินั้นๆ กับคนที่ไม่ได้เป็นชาตินั้นๆ มีการเลือกปฏิบัติมาก
น้อยเพียงใด
3. เสรีภาพ (Freedom)
4. ความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิ กรณีสิทธิพลเมืองมีความเชื่อมโยงกับสิทธิ
อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เช่น หาก
บุคคลใดก็ตามได้โอกาสในการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาจะทำให้มีความสามารถใน
การปกป้องตนเอง หรือต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมได้ดีกว่าหรือมากกว่าคนที่
ไม่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิทางสังคม
5. บุคคลทุกคนเกิดมาพร้อมกับสิทธิไม่ใช่เพราะรัฐบาลให้ แต่เราจะปกป้อง
สิทธิของเราได้มากเพียงใดและเราได้รับความคุ้มครองมากน้อยเพียงใดนั้น ถือว่า
รัฐมีภาระหน้าที่ ในกฎหมายระหว่างประเทศจะพบว่ารัฐมีพันธะกรณีในการ
คุ้มครองสิทธิของประชาชน
การประชุมกลุมยอยที่ 4