Page 412 - kpi17968
P. 412
401
หลักการ ิ ธิ ล ม นกระบ นการย ติธรรม ประการ
1. กระบวนการยุติธรรม กระบวนการในทางกฎหมาย (Due process of
law)
หลักฐานที่ได้จากการละเมิดสิทธิมนุษยชน การทรมานไม่สามารถนำไปใช้
ในการพิจารณาคดีในศาลได้ หากจะเข้าไปค้นในที่รโหฐานหรือจับกุมบุคคลใดจะ
ต้องมีหมายหรือคำสั่งของศาล หรือในการจับผู้กระทำความผิดต้องแจ้งสิทธิให้เข้า
ทราบว่ามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้หรือสามารถมีทนายความได้ หลักการ
นี้ปรากฏอยู่ในกฎหมายไทยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
2. Equal protection of law
การได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
3. การได้รับการคุ้มครองจากรัฐ โดยเฉพาะการคุ้มครองในสิทธิทั้งหลาย
บทบัญญัติทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายสิทธิมนุษยชนซึ่งประเทศไทย
เป็นภาคีถึง 7 ฉบับ ยกเว้นมาตรา 1 ว่าด้วยเรื่อง self determination เรื่องการ
กำหนดอนาคต กับมาตรา 6 ว่าด้วยเรื่องสิทธิในชีวิต life to right ในกฎหมาย
ระหว่างประเทศอยู่ในส่วนสิทธิพลเมือง ประเทศไทยมีการแถลงตีความกันว่า life
to right ของไทยตีความอย่างไร ทำไมจึงตีความว่าอย่างนั้น เพราะมีเรื่องของโทษ
ประหารชีวิต โดยในกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายไทยได้รับรองสิทธิ
ในชีวิตไว้ แต่ก็ยอมให้มีโทษประหารชีวิต ซึ่งขัดแย้งกับสิทธิในชีวิตส่วนตัว
ประเทศไทยมีพันธกรณีกับทุกบทบัญญัติยกเว้นที่มีถ้อยแถลงตีความไว้
สิทธิพลเมืองโดยทั่วไป จะเกี่ยวกับสิทธิอีกหลายๆอย่าง เช่น สิทธิในการ
แสดงออกซึ่งคาบเกี่ยวระหว่างสิทธิทางการเมืองกับสิทธิพลเมือง สิทธิในการถูก
เคารพในความเป็นส่วนตัว หรือสิทธิในการไม่ถูกจับโดยไม่ถูกตัดสินว่าเป็น
ผู้กระทำผิด หรือสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม หรือสิทธิในการสร้าง
การประชุมกลุมยอยที่ 4