Page 407 - kpi17968
P. 407
396
และสังคมเปลี่ยนไปตลอดเวลา ขณะเดียวกัน ความเป็นพลเมืองของโลกก็เรียก
ร้องสิทธิและการคุ้มครองสิทธิของพลเมืองโลกสูงขึ้นตามไปด้วย
น า การ ั นา ิ ธิมน ยชน ละ ิ ธิ ล ม หรับระบบย ติธรรม
ห นา ต
จากแนวคิดการยกระดับและพัฒนาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยไปสู่ยุคที่ 3
และบริบททางสังคมการเมืองของไทยในทศวรรษหน้า ที่เล็งเห็นว่าปัญหาความ
ขัดแย้งยังดำรงอยู่อย่างยืดเยื้อยาวนานนั้น จึงขอเสนอแนวทางในการการพัฒนา
สิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองสำหรับระบบยุติธรรมแห่งอนาคตดังนี้
1 เนื่องจากกระบวนทัศน์สิทธิมนุษยชนในสังคมไทยยังมีความหลากหลาย
บางส่วนยังยึดติดกับแนวคิด ยุคที่ 1 และยุคที่ 2 ขณะที่บางส่วนได้พัฒนาไปสู่
ยุคที่ 3 แล้ว ดังนั้น กรอบแนวคิดในการทำงานของระบบยุติธรรมจึงมุ่งให้ความ
สำคัญกับประเด็นร่วมสมัย (Contemporary Issues) ประเด็นการพัฒนาใหม่ๆ
ที่จำเป็นของประเทศ เช่น เรื่องสิทธิในด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร การใช้ชีวิต
ในสังคมเสี่ยง ฯลฯ เพื่อให้ทันกับการพัฒนาสังคมในปัจจุบันและอนาคตมากขึ้น
อีกทั้งควรมีการพัฒนาวิธีการทำงานให้มีศักยภาพในการแข่งขันและสร้างความ
ร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคได้ ขณะเดียวกันก็ไม่ละสายตาจาก
ประเด็นความขัดแย้งและการละเมิดสิทธิที่สำคัญๆ และมีผลกระทบต่อสังคมใน
วงกว้างด้วยเช่นกัน
2 ขณะที่เล็งเห็นได้ว่าบริบททางสังคมไทยในทศวรรษหน้ายังต้องเผชิญกับ
ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองที่มีความเรื้อรังต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง จึงยังคงเป็นเครื่องมือที่ทุกฝ่าย
ต่างหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อประโยชน์ในทางได้เปรียบของฝ่ายตนต่อไป
งานการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ยืดเยื้อให้ยุติลง จึงเป็นภารกิจสำคัญที่ท้าทาย
การทำงานของระบบยุติธรรมแห่งอนาคต ทั้ง ในมิติของการกำหนดนโยบาย
ยุติธรรม การออกกฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ รวมทั้งเคร่งครัดในการกำหนด
แบบแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ออกแบบขั้นตอน กระบวนการและกลไกที่
การประชุมกลุมยอยที่ 4