Page 406 - kpi17968
P. 406
395
วัฒนธรรมเข้ากับสิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่บุคคลหรือกลุ่มคนจะได้รับจากการจัด
บริการทางสังคมที่หลากหลายรูปแบบ สิทธิมนุษยชนในยุคนี้มาจากแนวคิดที่เน้น
มวลชนนิยม (Collectivism) มากกว่าเสรีนิยม ดังนั้นงานด้านสิทธิมนุษยชนจึงขึ้น
อยู่กับพรรคการเมืองของแต่ละประเทศที่ขึ้นมาเป็นรัฐบาล และกำหนดนโยบาย
เชิงประสานประโยชน์กับกลุ่มผลประโยชน์ในสังคมนั้นๆ รัฐบาลจึงต้องเข้ามามี
บทบาทเชิงรุกในการจัดการและการจัดสรรทรัพยากรลงไปสู่ประชาชน แทนที่จะ
เป็นเพียงการคุ้มครองสิทธิ ขณะเดียวกันส่งผลทำการให้หลักประกันทางกฎหมาย
มีความอ่อนแอลงอย่างมาก เนื่องมาจากเป็นการยากที่จะบ่งชี้ว่า ใครกำลังทำผิด
และการ Sanctions ทำได้ยากลำบาก การทำงานของหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน
จึงกระทำได้ยาก และกระบวนการทางกฎหมายและโครงสร้างทางการเมือง
มีประโยชน์น้อยมากในการช่วยให้ประชาชนตระหนักในสิทธิเหล่านี้
ยุคที่สาม เป็นเรื่องของการให้ความหมายสิทธิมนุษยชนที่จะมีความ
หมายต่อเมื่ออยู่ในระดับคนหมู่มากหรือระดับมวลชน (collective level)
ที่ผู้เป็นเจ้าของ ได้แก่ ชุมชน ประชากร สังคม หรือประเทศชาติ มากกว่าที่จะ
เป็นความหมายของปัจเจกบุคคล รวมไปถึงสิทธิในการที่จะได้รับการพัฒนาทาง
เศรษฐกิจ สิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากการค้าในเวทีโลก และสิทธิในด้านสิ่ง
แวดล้อม เช่น สิทธิที่จะได้หายใจอากาศบริสุทธิ์ที่ปราศจากมลภาวะ สิทธิที่จะได้
รับน้ำสะอาดในการบริโภค เนื่องจากวิกฤตที่เกิดจากทิศทางการพัฒนาทาง
เศรษฐกิจ บริโภคนิยม เงินตรา และศักยภาพทางเทคโนโลยี ทำให้เกิดความ
จำเป็นในการสร้างสันติภาพให้ปลอดภัยในสังคมเสี่ยง (Risk Society) จึงมีความ
พยายามที่จะเชื่อมโยงสิทธิมนุษยชนเข้ากับสิทธิแห่งการพัฒนาในฐานะ
กระบวนการสร้างสันติภาพในสังคม และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะ
สมและเป็นธรรม การทำงานของหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน จึงต้องผนึกกำลัง
กันเป็นเครือข่ายในระดับชุมชน ภูมิภาค และระดับโลก การต่อสู้เป็นการต่อสู้
เพื่อกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประสานความร่วมมือเพื่อให้ได้ข้อสรุป
ร่วมกัน
ดังนั้น ระบบยุติธรรมแห่งอนาคตจึงควรต้องออกแบบให้สามารถทำงานร่วม
กับแนวคิดสิทธิมนุษยชน ยุคที่ 3 ให้ได้อย่างลงตัว เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลง
การประชุมกลุมยอยที่ 4