Page 468 - kpi17968
P. 468
457
เมื่อถูกตรวจสอบเปิดโปงยังสามารถใช้อำนาจที่มีทางการเมืองได้ โดยไม่มีการให้
บุคคลเหล่านั้นหยุดทำหน้าที่ ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐก็ดี องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ก็ดี หรือแม้แต่ตำรวจไม่กล้าที่จะดำเนินคดีกับบุคคลเหล่านั้น
หลักนิติธรรมเป็นนามธรรม เป็นอุดมคติ เป็นสิ่งที่สังคมอยากให้เกิดขึ้น
แต่เกิดขึ้นจริงน้อยมากที่สุดในยุคที่รัฐไม่เคารพกฎหมาย ทั้งที่มีความต้องการเป็น
นิติรัฐและต้องการให้ทุกคนเคารพกฎหมาย และเมื่อตนเองกระทำการทุจริตและ
ถูกตรวจสอบก็จะใช้อำนาจในการปกป้องตนเองและพวกพ้อง ตัวอย่าง ปี 2543
กรณีที่พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ไปแจ้งบัญชีและทรัพย์สินอันเป็นเท็จ เมื่อผม
ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็ถูกอำนาจรัฐ
จัดการ เช่น การดักฟังโทรศัพท์ เป็นต้น นอกจากนี้ กระบวนการตรวจสอบ
ยังพบว่ามีการแทรกแซงแม้ในชั้นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยคดีนี้
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ชี้มูล 9 ต่อ 0 ว่ามีความผิด
และส่งสำนวนให้ศาลรัฐธรรมนูญ ระหว่างที่มีการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
ก็พบมีการวิ่งเต้นเพื่อล้มคดีอีกด้วย
หรือในปี 2547 การที่คุณทักษิณ ชินวัตร กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 100
วรรค 2 ผมยื่นกองปราบเดือนพฤษภาคม 2547 แต่ปรากฏว่าผู้การกองปราบ
ประวิงคดีไว้ โดยเกี่ยงกันระหว่างกองปราบและคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยกองปราบอ้างว่ากฎหมายนี้เป็นของ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในขณะเดียวกัน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติอ้างว่ากฎหมายนี้เป็น
กฎหมายอาญาจึงเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน กรณีนี้ใช้เวลา 2 ปีเต็ม ต่อมา
ปี 2549 ผมยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความ
เสียหายแก่รัฐ (คตส.) จนในที่สุดศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองจึงมีคำพิพากษาลงโทษจำคุก 2 ปี
จากตัวอย่างข้างต้นคือสิ่งที่ปรากฏอยู่ แต่ไม่ได้รับรู้โดยทั่วไปเป็นลายลักษณ์
อักษร เป็นสิทธิที่ทุกคนเรียกร้อง ผู้ต้องหาก็เรียกร้องว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่สิทธิที่
สังคมเสียหายที่ถูกละเมิดจากนักการเมืองมีบุคคลใดสนใจปกป้องหรือไม่
การประชุมกลุมยอยที่ 5