Page 486 - kpi17968
P. 486

475




                   ก็จะมีการพิจารณาคดีที่รวดเร็ว แต่ถ้าหากเป็นการดำเนินคดีที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ

                   ผู้มีชื่อเสียง ก็อาจมีการพิจารณาคดีที่ล่าช้า เป็นต้น


                         นอกจากนี้ ในประเด็นเรื่องสิทธิพลเมืองของกระบวนการยุติธรรมนั้น
                   มีการกล่าวถึงปัญหาเรื่องกระบวนการหาหลักฐาน เช่น หลักฐานที่ได้มาจากการ
                   ทรมานนั้น จะนำมาใช้ไม่ได้ และควรให้ผู้ต้องสงสัยมีสิทธิที่จะมีทนายความ
                   ที่สำคัญ จะต้องมีการแจ้งสิทธิด้วยว่าผู้ต้องหามีสิทธิอะไรบ้าง ส่วนเรื่องของความ

                   เท่าเทียมกันนั้น จะต้องมีความคุ้มครองที่เท่าเทียมกัน และต้องบังคับใช้กฎหมาย
                   อย่างเท่าเทียมกัน ยิ่งกว่านั้น ในประเด็นเรื่องโทษประหารชีวิต ก็มีประเด็นว่าควร

                   มีโทษประหารชีวิตต่อไปหรือไม่ เพราะถ้าหากมีการรับรองสิทธิในการมีชีวิตอยู่
                   อย่างเคร่งครัดแล้ว โทษประหารชีวิตก็จะต้องไม่มี อีกทั้งประเทศไทยเองก็ยังมี
                   โทษประหารชีวิตอยู่ โดยมีคนรอถูกประหารชีวิตอยู่ร้อยกว่าราย และในจำนวนนี้
                   เป็นสตรีกว่า 50 ราย


                         ยิ่งกว่านั้น ในการอภิปรายยังมีการสรุปว่า สาเหตุที่ทำให้กระบวนการ
                   ยุติธรรมมีความไม่เท่าเทียมกัน คือ กระบวนการยุติธรรมกลายเป็นอุปสรรคและ

                   เป็นสิ่งที่ประชาชนเข้าไปไม่ถึง หรือไม่สามารถเข้าถึงได้ และแม้ว่ากระบวนการ
                   ยุติธรรมจะถูกเขียนไว้เป็นแบบเรียน สิ่งพิมพ์ แต่ความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำ

                   และความไม่เท่าเทียมกันก็ยังคงมีอยู่ และถ้าหากมองจากข้างนอกเข้าไปข้างใน
                   ก็จะเห็นได้ว่าสังคมไทยมีบริบทเรื่องความเหลื่อมล้ำที่กลไกของรัฐก็ให้ความเป็น
                   ธรรมไม่ได้ อีกทั้งกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลง
                   ของโลก ที่สำคัญ เมื่อมีการบังคับใช้กฎหมายบางประเภท ก็ทำให้เกิดความ

                   เหลื่อมล้ำมากขึ้น เช่น การที่กฎหมายมีช่องโหว่ เป็นต้น


                   ประ   น             น     ะช  ย ก ไ ป  หา


                         1. ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม เช่น การไม่ได้รับ

                   การประกันตัวในเวลาที่เหมาะสมตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล ก็อาจต้องมีการตั้ง
                   กองทุนให้คนประกันตัวได้ซึ่งตั้งโดยกระทรวงยุติธรรมอันเป็นการคุ้มครอง
                   ประชาชน นอกจากนี้ แต่เดิมอำนาจในการให้ประกันตัวจะอยู่ที่ส่วนกลาง ก็ควร







                                                               สรุปสาระสำคัญการประชุมกลุมยอย
   481   482   483   484   485   486   487   488   489   490   491