Page 487 - kpi17968
P. 487
476
จะมีการกระจายไปอยู่ในแต่ละจังหวัด โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจให้
ประกันตัวในจังหวัดตนเองได้
2. ปรับปรุงเรื่องสภาพที่คุมขังไม่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันผู้ที่ต้องถูกคุมขัง
ก่อนที่จะมีการต่อสู้คดีก็ต้องไปอยู่ที่เรือนจำเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาใน
เรือนจำที่มีสภาพแออัด
3. ตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนในท้องถิ่น โดยเป็นการฝากภารกิจเรื่องนี้ให้ท้องที่
กำนันผู้ใหญ่บ้านช่วยดูแล แต่ปัจจุบันยังไม่มีสถานที่รองรับ เนื่องจากกำนัน
ก็ใช้บ้านเป็นสถานที่ทำงาน ถ้าหากให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล ก็ต้องมี
สถานที่ให้ และขณะนี้ ทางรัฐบาลได้ให้ศูนย์ดำรงธรรมเข้ามาจัดการ ดังนั้น
ศูนย์ดำรงธรรมและศูนย์ยุติธรรมชุมชน น่าจะร่วมมือกันและทำหน้าที่ให้ความ
ยุติธรรมกับชุมชนเพื่อให้ความขัดแย้งจบในชุมชนไม่ใช่ในศาล
4. ภาครัฐจะต้องส่งเสริมการทำงานแบบบูรณาการแบบไร้รอยต่อ มีการ
บูรณาการงานที่เกี่ยวกับการยุติธรรมทั้งหมด และจะต้องมีการเรียนรู้กับ
ประชาชนเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยการเรียนรู้นี้จะต้องส่งผ่านไปยังท้องที่กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน และนำกฎหมายต่างๆไปสื่อให้ประชาชนอีกต่อหนึ่ง โดยจะต้องเอา
กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมาอบรมวิธีการพูดคุยแก้ปัญหาความขัดแย้งในท้องถิ่น
กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ความอยุติธรรมจะเกิดขึ้น
เมื่อคนที่เท่าเทียมกันได้รับการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกัน และคนที่ไม่เท่าเทียมกันได้
รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน และในส่วนของข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
เห็นว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดและถือเป็นประเด็นที่สังคมไทย
ต้องยอมรับในหลักการ แต่ในทางปฏิบัติก็ยังถือเป็นคำถามใหญ่เช่นกันว่า ในเมื่อ
มีปัญหาหลายมิติทั้งโครงสร้าง และวัฒนธรรม ตลอดจนมีความเหลื่อมล้ำทั้งหมด
การทำให้ทุกอย่างเท่าเทียมกันอาจไม่เกิดขึ้นจริงหากไม่นำเรื่องหลักสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนมาใช้อย่างทั่วถึงกันและเท่าเทียมกัน
สรุปสาระสำคัญการประชุมกลุมยอย