Page 483 - kpi17968
P. 483
472
ประ น ป หา ก ย กับ นา นการต ามหลักนิติธรรม
สำหรับอำนาจในการตีความหลักนิติธรรมนั้น เป็นที่แน่นอนว่ากรอบ
การตีความจะต้องยึดถือตัวบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นหลักเพื่อลดการ
ผูกขาดอำนาจและการใช้ดุลพินิจอันอาจทำให้เกิดการใช้อำนาจโดยมิชอบได้ และ
เพื่อป้องกันมิให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจสูงสุดเพียงองค์กรเดียว อย่างไร
ก็ตาม ในเรื่องของหลักกฎหมายมหาชนนั้น ยังไม่สามารถเขียนให้ชัดเจนได้
เนื่องจากเป็นนิติวิธีที่ต่างไปจากกฎหมายอาญาที่จะเขียนให้ชัดเจน อีกทั้งกฎหมาย
มหาชนยังมีพลวัตรอยู่ แม้แต่ประเทศที่เป็นต้นแบบจริงๆก็ยังต้องเปิดให้มีการ
ตีความ ซึ่งในสหรัฐอเมริกาเอง ตั้งแต่ ค.ศ. 1803 ที่มีคดี Marbury V. Madison
ซึ่งเป็นคดีต้นแบบที่มีการวินิจฉัยเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาจนถึงปัจจุบัน
ก็ยังคงต้องมีการตีความเนื่องจากเป็นพลวัตรของการพัฒนาหลักกฎหมาย
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการมอบอำนาจในการตีความหลักนิติธรรมให้แก่องค์กร
ใดก็ตาม แต่การถ่วงดุล และการตรวจสอบก็คงต้องมี และแม้จะให้ศาล
รัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตีความ แต่ควรจะมีการตรวจสอบถ่วงดุลด้วย
ซึ่งอาจทำได้โดยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อปรับบทบาทของศาล
รัฐธรรมนูญ หรือใช้อำนาจตอบโต้อำนาจ
ประ น าม ป หา ก ย กับ ร การ บ ยกการ ช นา
หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจเป็นหลักที่จะทำให้การปกครองของประเทศ
ไทยมีความสอดคล้องกับหลักนิติธรรม เพราะการปกครองด้วยหลักนิติธรรมคือ
การปกครองด้วยกฎหมาย และให้กฎหมายเป็นใหญ่อยู่เหนือองค์กรที่ใช้อำนาจ
ต่างๆ แต่ก็จะมีมิติที่เป็นช่องว่าง ว่าหลักการแบ่งแยกอำนาจนั้นมีจุดประสงค์
อีกประการ คือ ความต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง จึงไม่ควรให้องค์กรใด
องค์กรหนึ่งไปก้าวก่ายงานขอบอีกฝ่าย กล่าวคือ ด้านการเมือง ควรเป็นบทบาท
ของฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร อย่างไรก็ตาม มุมมองนี้ยังไม่มีความลงตัว
จึงต้องมีการวิเคราะห์ต่อไปว่าจุดสมดุลควรอยู่ที่ตรงไหน
สรุปสาระสำคัญการประชุมกลุมยอย