Page 636 - kpi17968
P. 636

625




                   กับข้อกำหนดอย่างยิ่งฐานะประเทศที่เสนอให้มีข้อกำหนดดังกล่าว โดยตรา

                   “กฎหมายว่าด้วยทางเลือกแทนการคุมขังสำหรับผู้ต้องขังสตรี” ทั้งนี้เนื่องจาก
                   ในข้อกำหนดกรุงเทพฯ ข้อที่ 57 กล่าวว่า “บทบัญญัติของข้อกำหนดโตเกียว ต้อง
                   ให้แนวทางการพัฒนาและการใช้การตอบสนองที่เหมาะสมต่อผู้กระทำความผิด

                   หญิงต้องพัฒนาทางเลือกเฉพาะเพศหญิงในเรื่องมาตรการเบี่ยงเบนการเข้าสู่
                   กระบวนการทางศาลและทางเลือกอื่นๆ ในขั้นตอนก่อนการพิจารณาและในการ
                   ตัดสินพิพากษาภายใต้ระบบกฎหมายของ “ประเทศสมาชิก” โดยพิจารณาถึง

                   ประวัติของการตกเป็นเหยื่อของผู้กระทำความผิดหญิงจำนวนมากและภาระหน้าที่
                   ของพวกเธอในการดูแลครอบครัว” และในข้อที่ 64 ที่กล่าวว่า “ควรหลีกเลี่ยง
                   การใช้โทษจำคุกแก่ผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์หรือผู้ต้องขังหญิงซึ่งมีบุตรในวัยที่ยัง

                   ต้องพึ่งพาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้” ประกอบกับข้อเท็จจริงทางสถิติพบว่า ผู้ต้อง
                   ขังหญิงในคดียาเสพติดมีจำนวนถึงร้อยละ 80 ของผู้ต้องขังหญิงทั้งหมด จึงควร
                   พิจารณาวิธีปฏิบัติเป็นกรณีเฉพาะสำหรับผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าว ทั้งนี้ควรแก้ไขเพิ่ม

                   เติมการลงโทษในประมวลกฎหมายอาญา เพื่อสร้างทางเลือกที่เหมาะสมด้วย
                   มาตรการไม่คุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องขัง ตามความเหมาะสม เพื่อให้
                   เป็นไปตาม ข้อที่ 60 ของข้อกำหนดฯ ที่วางแนวปฏิบัติไว้ว่า “ต้องสร้างทางเลือก

                   ที่เหมาะสมด้วยมาตรการไม่คุมขังผสมผสานกับกิจกรรมเพื่อแก้ไขฟื้นฟูสำหรับ
                   ผู้กระทำผิดหญิง”


                         นอกจากนี้การที่สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ร่วมกับ
                   กรมราชทัณฑ์ และกรมคุมประพฤติ จัดทำโครงการส่งเสริมให้มีเรือนจำต้นแบบ
                   ตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ ซึ่งได้นำตัวชี้วัดที่ได้ดำเนินงานร่วมกับ Penal Reform

                   International (PRI) มาใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินเรือนจำภายในประเทศ
                   โดยคณะผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศร่วมกันพิจารณาและเฟ้นหาเรือนจำ
                   ต้นแบบดังกล่าว  โดย ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการ

                   ยุติธรรมแห่งประเทศไทย โดยมอบประกาศนียบัตรให้แก่เรือนจำที่ผ่านเกณฑ์
                   การประเมินคือ เรือนจำอุทัยธานี เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2558 ณ สถาบัน
                   เพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะที่เป็นเรือนจำที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

                   ตามข้อกำหนดกรุงเทพ ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินมากถึง 165 ข้อ แบ่งเป็นนโยบาย







                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   631   632   633   634   635   636   637   638   639   640   641