Page 635 - kpi17968
P. 635
624
6. กรณีเจ้าหน้าที่เรือนจําต้องไปเฝ้าดูแลเด็กติดผู้ต้องขังที่โรงพยาบาล
ภายนอก ควรออกกฎระเบียบ ให้เบิกค่าลวงเวลาให้กับเจ้าหน้าที่ได้
7. ควรจัดให้มีการให้คําปรึกษาแนะนําเฉพาะรายให้กับผู้ต้องขังหญิง
มีครรภ์ เนื่องจากผลการศึกษาวิจัย ส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.7 เรือนจําไม่มีการจัด
กิจกรรมให้คําปรึกษาแนะนําและเมื่อผู้ต้องขังมีปัญหา ส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.1
ปรึกษาเพื่อนผู้ต้องขัง
8. กรมราชทัณฑ์ควรมีการประสานภาคเอกชนเข้ามาให้การสงเคราะห์เด็ก
ติดผู้ต้องขังและผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ในเรื่องปัจจัยสี่ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ต้องขังที่
มีฐานะยากจน หรือไร้ญาติ
ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์ และคณะ. (2558). ศึกษาวิจัยเรื่อง “การสร้าง
ทางเลือกที่เหมาะสมด้วยมาตรการไม่คุมขังกับผู้ต้องขังหญิงและการหลีกเลี่ยง
การใช้โทษจำคุก และการสร้างความฉลาดรู้ทางกฎหมาย ตามข้อกำหนด
กรุงเทพฯ” พบว่า ถึงเวลาที่จะต้องสร้างทางเลือกที่หลากหลายในการเบี่ยง
ผู้กระทำผิดและผู้ต้องขังออกไปจากระบบการคุมขัง หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ
และควรดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูควบคู่ไปด้วย เพื่อสร้างความเป็นธรรมและสันติให้
สังคม โดยจะต้องเข้าใจความหมายของทางเลือกแทนการจำคุก(Alternatives to
Imprisonment) แบบทั่วไป ในบริบทของ Tokyo Rules กับการสร้างทางเลือก
(Alternatives) สำหรับผู้ต้องขังหรือผู้กระทำผิดของสังคมไทย ในบริบทข้อ
กำหนดกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอีกมิติหนึ่งคือ “การพัฒนาทางเลือก” (Alternative
Development) ในการป้องกัน ปราบปรามและวิธีปฏิบัติใหม่ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในคดียาเสพติด ควรมีการสร้างแผนแม่บทเชิงนโยบายแห่งรัฐ หรือ Policy
Statement ที่มีความแน่นอนชัดเจน ทั้งควรมีหลักคิดที่ว่า เรือนจำควรเป็นที่อยู่
ของบุคคลที่อันตรายอย่างยิ่งยวดและไม่สามารถแก้ไขพฤติกรรมได้ ส่วนบุคคล
ที่มิได้กระทำผิดติดนิสัย ยังพอแก้ไขกลับตนได้ควรได้รับโอกาสจากวิธีการอื่นๆ
ที่มิใช่การควบคุมตัว อันจะทำให้ลดความแออัดในเรือนจำลงอันเป็นผลพลอยได้ที่
ตามมา ส่วนข้อเสนอแนะ พบว่า ควรบัญญัติกฎหมายภายในให้อนุวัตรตาม
ข้อกำหนดกรุงเทพ เพื่อให้ประชาคมโลกได้เห็นว่าประเทศไทยได้ให้ความสำคัญ
บทความที่ผานการพิจารณา