Page 637 - kpi17968
P. 637

626




               เรือนจำ 21 ข้อ การรับลงทะเบียน 9 ข้อ สุขอนามัย 43 ข้อ ความมั่นคง

               ปลอดภัย 22 ข้อ การติดต่อกับโลกภายนอก 17 ข้อ การจำแนกและปฏิบัติ
               6 ข้อ ผู้ต้องขังลักษณะพิเศษ เช่น ผู้ต้องขังต่างชาติ 4 ข้อ ผู้ต้องขังชนกลุ่มน้อย
               3 ข้อ ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา 4 ข้อ ผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ 25 ข้อ การเตรียม

               ความพร้อมก่อนปล่อย 11 ข้อ เป็นต้น ก็ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับผู้ต้องขัง
               หญิงในประเทศไทย อันจะเป็นต้นแบบให้กับผู้ต้องขังหญิงทั่วโลกได้ในอนาคต
               เช่นกัน


                     นัทธี  จิตสว่าง (2556) กล่าวถึง แนวทางการขับเคลื่อนข้อกำหนด

               กรุงเทพฯ (Bangkok Rules) ไปสู่การปฏิบัติในงานราชทัณฑ์ของไทย ในประเด็น
               การออกแบบเรือนจำหญิงสำหรับผู้ต้องขังหญิงก็คือ “...... บรรยากาศภายในเรือน
               จำควรมีลักษณะที่เป็นธรรมชาติใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมข้างนอก เพราะใน
               การคุมขังผู้ต้องขังหญิงเรื่องความมั่นคงปลอดภัยจะต่ำกว่าเรือนจำชาย นอกจากนี้

               เรือนจำหญิงหลายแห่งมีการคุมขังผู้ต้องขังหญิงที่ควรควบคุมในลักษณะมั่นคงสูง
               และความมั่นคงต่ำไว้ในเรือนจำเดียวกัน สำหรับเรือนจำหญิงที่มีระดับความมั่นคง
               ต่ำ เช่นทัณฑสถานสถานเปิดอาจออกแบบในลักษณะเหมือนกับบ้านหลายหลัง

               รวมอยู่ในบริเวณเดียวกันกับภายใต้รั้วล้อมรอบ ภายในบ้านจะมีต้องขังหญิง
               อยู่ประมาณ 5-10 คน อยู่ดูแลจัดระเบียบ ตลอดจนทำความสะอาดกันเอง แต่
               สิ่งสำคัญคือการออกแบบเรือนจำหญิง ต้องคำนึงถึงกิจกรรมที่จะแตกต่างกัน

               ออกไปจากเรือนจำชาย.....” ส่วนประเด็นการสรรหาและพัฒนาบุคลากรที่ทำงาน
               ในเรือนจำถือเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จในการปฏิบัติตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ
               (Bangkok Rules) ว่า “......ทัศนคติต่อผู้ต้องขังต่อการอบรมแก้ไขและต่อกระแส

               สิทธิมนุษยชนสากล  เพราะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในเรือนจำมานาน จะมีความ
               คุ้นเคยกับพฤติกรรมของผู้ต้องขังและประกอบกับสภาพการขาดแคลนเครื่องมือ
               ในการทำงานจนทำให้ต้องทำงานด้วยความยากลำบาก จะมีทัศนคติในทางลบต่อ

               การผ่อนปรนให้สิทธิของผู้ต้องขัง โดยจะมองผู้ต้องขังในลักษณะเหมารวม
               ไม่แยกแยะระหว่างพวกบัวใต้น้ำ กับบัวในโคลนตม การดำเนินใดๆ ในการ
               ตอบสนองต่อการอนุวัติตามข้อกำหนดกรุงเทพ ส่วนใหญ่จึงเป็นการดำเนินการ

               ตามหน้าที่เคยปฏิบัติเป็นงานประจำหรือทำตามตัวชี้วัด มากกว่าที่จะดำเนินการ
               “ด้วยใจ” มุ่งมั่นการพัฒนาให้ผู้ต้องขังกลับสู่สังคม ซึ่งประการหลังนี้เป็นปัจจัยที่มี





                    บทความที่ผานการพิจารณา
   632   633   634   635   636   637   638   639   640   641   642