Page 648 - kpi17968
P. 648

637




                   ก       ั    การบรรล หลักนิติธรรม



                         ศ.วิทิต มันตาภรณ์ ชี้ถึงกุญแจสำคัญที่จะช่วยบรรลุหลักนิติธรรมของสังคม
                   ไทย 5 ประการคือ


                          1) ความเป็นมาตรฐานสากล (International Standard + Local
                             Wisdom) แม้ว่าการนำหลักนิติธรรมมาใช้ต้องนำไปประยุกต์ให้

                             เหมาะสมในแต่ละสังคม แต่มาตรฐานขั้นต่ำที่เป็นสากลต้องมีและ
                             จำเป็น ความท้าทายของสังคมไทยต้องยืนกับมาตรฐานนิติธรรม
                             ในระดับสากลในเรื่อใดและระดับใด


                          2) การตรวจสอบถ่วงดุล (Check and Balance) หลักนิติธรรมที่เกิด
                             ปัญหาระหว่างองค์กร 2 องค์กร มักจะมีองค์กรที่สามมาชี้ถึง

                             หลักนิติธรรม ในองค์กรทุกองค์กรต้องมีหลักการคานและถ่วงดุล เช่น
                             ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในระบบการเมือง เมื่อระบบ
                             การเมืองประสบปัญหาจะพบฝ่ายที่สามเข้ามาเช่น ศาลรัฐธรรมนูญ

                             และศาลยุติธรรม การออกแบบหลักการถ่วงดุลจะทำได้ 3 ระดับ คือ
                             1) การถ่วงดุลระดับภายในระบบเอง 2). การถ่วงดุลระดับที่ข้ามระบบ
                             โดยองค์กรที่ถูกออกแบบมาต้องชี้ถึงความเป็นนิติธรรม และรวมถึง

                             3). การควบคุมกันเองหรือการควบคุมภายใน ให้ดำรงหลักนิติธรรมไว้
                             ซึ่งเป็นความท้าทายของสังคมไทยในการสร้างสร้างการควบคุมตนเอง
                             จากภายในของปัจเจก (Self-Control) และการควบคุมตนเองโดย

                             สังคม (Social Control) ได้อย่างไร

                          3)  ความสามารถในการเข้าถึงระบบยุติธรรม (Access to Justice)

                             ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายที่เสมอกัน
                             แต่ที่ถกเถียงกันถึงกระบวนการยุติธรรมที่ล่าช้าที่ทำให้สังคมไทย
                             มีความท้าทายในการทำให้กระบวนการยุติธรรมประกันหลักนิติธรรม

                             ด้วย การเข้าถึงหรือจัดให้มี รวมถึงการช่วยเหลือในกระบวนการ
                             ยุติธรรมและเปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับความรู้ความเข้าใจต่อ
                             กระบวนการยุติธรรมหรือ Justice Education





                                                                       ปาฐกถาปด
   643   644   645   646   647   648   649   650   651   652   653