Page 649 - kpi17968
P. 649
638
4) หลักความรับผิดชอบ (Accountability) คือ หลักความรับผิดชอบ
ที่จะเคารพกฎหมาย ทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง หลักในแนวดิ่ง คือ
การทำให้องค์กรทั้งหลายตรวจสอบลงมาตามลำดับชั้น ส่วนหลัก
ในแนวราบ คือ การตรวจสอบระหว่างกันเองอย่างเท่าเทียมกัน
ภาคประชาชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนถือเป็นการสร้างความ
รับผิดชอบในแนวราบ ซึ่งก่อให้เกิดข้อถกเถียงว่าวัฒนธรรมความ
รับผิดชอบต่อหลักนิติธรรมและเกรงกลัวกฎหมายของคนไทยเป็น
อย่างไร หรือวัฒนธรรมของไทยเอื้อให้คนไทยมีพฤติกรรมที่ทำไม่
ถูกต้องสามารถอยู่ได้และได้รางวัล เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม
จึงมีความสำคัญในอนาคต
5) การไม่ปล่อยปละละเลยให้การปกป้องการเป็นมนุษยชาติหายไปโดย
รัฐ การไม่มีสูญญากาศแห่งความยุติธรรม ทำให้สังคมไทยต้องพูดถึง
หลักนิติธรรม
นิติธรรม น ั มไ ย นิติธรรม ม ประชาธิปไตย ละประชาธิปไตย
กก กับ ยนิติธรรม
คำถามสำคัญคือสังคมไทยอยากได้หลักนิติธรรมแบบไหน แบบแคบหรือ
กว้าง? แบบเจือจางหรือเข้มข้น? บางท่านกล่าวว่าสังคมไทยมีหลักนิติธรรม
อยู่แล้วและมีการปฏิบัติ อย่างไรก็ตามถ้าไม่อาจบังคับใช้กฎหมาย กติกา หรือ
ช่องทางที่เอื้อต่อหลักนิติธรรมก็ไม่มีความหมาย
ปัญหาของหลักนิติธรรมและกระบวนการประชาธิปไตย บทบาทและภาพ
ในอดีตเราเห็นว่าประชาธิปไตย คือ มีการเลือกตั้งและมีรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งเหล่านี้
อาจไม่เพียงพอต่อความเป็นอยู่ของสังคม ปัจจุบันมีการถกเถียงกันมากระหว่าง
หลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นอยู่เสมอทั้งในและต่างประเทศ
ดุลยภาพของประชาธิปไตยที่มีหลักนิติธรรมด้วยจะเป็นอย่างไร คนเราเข้าใจผิดว่า
ในตามวงกลม (ดูในรูปภาพที่ 2) อำนาจการปกครองที่ปราศจากหลักนิติธรรม
คือ รูปแบบประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง การบังคับใช้กฎหมายก็ถือเป็นประชาธิปไตย
แล้ว แต่มีคนตั้งคำถามมากขึ้นว่ากระบวนการประชาธิปไตยต้องการความดีงาม
ปาฐกถาปด