Page 149 - kpi18886
P. 149

141




                   การเมือง สถาบันทางการเมืองจะต้องทำหน้าที่อย่างเหมาะสม ต้องมีการสื่อสาร

                   ระหว่างสถาบันทางการเมืองกับประชาชน ต้องสนองความต้องการของประชาชน
                   หากละเลยสิ่งเหล่านี้แม้ว่าจะพยายามครอบงำประชาชน ประชาชนก็จะไม่เชื่อถือ
                   สถาบันเหล่านี้อีกต่อไป นี่เป็นบทเรียนจากประเทศของผม


                         ประเด็นที่ 3 การเติบโตเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับ
                   ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน การเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจได้ส่งเสริมให้

                   เกาหลีใต้ สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยได้อย่างราบรื่นในช่วง 30 ปี
                   ที่ผ่านมา ประเทศไทยเองก็ได้พัฒนาเศรษฐกิจอย่างประสบผลสำเร็จมาแล้ว

                   ฉะนั้นสำหรับการเติบโตต่อไปการเมืองควรจะต้องเข้ามาทำบทบาทของตนเพราะ
                   ประเด็นที่ Prof. George Abonyi พูดถือว่าเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการวาง
                   รากฐานประชาธิปไตย ในฐานะนักรัฐศาสตร์ผมเชื่อว่าเงื่อนไขเสถียรภาพทาง
                   การเมืองมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่เสถียรภาพทางการเมืองต้องอยู่

                   บนฐานของฉันทมติของประชาชน หลายครั้งจะมีปัญหาว่าเราจะสร้างฉันทมติ
                   ได้อย่างไรเพราะไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมจะคือคำตอบ
                   ซึ่งในเกาหลีใต้ต่อสู้มาตลอด และเมื่อฝ่ายอำนาจยินยอมให้มีการพัฒนา

                   กระบวนการประชาธิปไตยขึ้น ก็มีการสร้างข้อตกลงที่จะนำไปสู่กระบวนการ
                   ประชาธิปไตย ขอบอกว่าเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญเติบโตทาง
                   เศรษฐกิจเป็น 2 ด้านของเหรียญเดียวกัน การบรรลุทั้ง 2 เป้าหมายนี้ การสร้าง

                   ฉันทมติทางการเมืองเกี่ยวกับวิธีการที่ประชาชนจะได้รับการปกครองและสังคม
                   จะดำเนินไปอย่างไรนั้นมีความสำคัญมาก


                         ประเด็นที่ 4 เกี่ยวข้องกับความโปร่งใส ความโปร่งใสและความเปิดเผย
                   เป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับประชาธิปไตยที่ยั่งยืน อย่างที่ผมได้กล่าวแล้วว่า
                   ประธานาธิบดีคนก่อนได้ถูกไล่ออกเพราะเกี่ยวข้องกับคดีอื้อฉาว ผมเชื่อว่าการที่

                   ทุจริตคอร์รัปชันเป็นศัตรูของประชาธิปไตยที่ยั่งยืน เพราะจะทำลายสถาบันทาง
                   การเมือง อีกอย่างหนึ่งคือระบบถ่วงดุลอำนาจมีความจำเป็นยิ่ง จะต้องสร้างให้
                   ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตรวจสอบฝ่ายบริหารได้จริง และศาลต้องมีความเป็นกลาง

                   และต้องมีความเป็นอิสระต่อกัน เรื่องสำคัญอีกประการคือประชาสังคม
                   ประชาธิปไตยจะทำงานได้ต่อเมื่อประชาชนยินยอม ยินดี และสนใจการเมือง
                   พร้อมที่จะจับตาดูบทบาทของนักการเมือง ต่อสู้กับคอร์รัปชัน และจัดตั้งระบบ




                                                         การอภิปรายรวมระหวางผูแทนจากตางประเทศ
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154