Page 265 - kpi18886
P. 265
257
4. มีแนวทางการขจัดทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างได้ผล
5. สร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในอันที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ และร่วมกันรับรู้และรับผิดชอบต่อ
ความเจริญและการพัฒนาประเทศและสังคมโดยรวม
ทั้งหมดนั้น ถูกกำหนดลงในเนื้อหารัฐธรรมนูญหลายส่วนในหลายรูปแบบ
บ้างเป็นการกำหนดตรงๆ บ้างจะไปปรากฏอยู่โดยอ้อม เช่น ไปกำหนดไว้ใน
คุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งต่างๆ ว่า ต้องมีคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม
อย่างไร เป็นต้น
อาจเพราะปรากฏความเข้มและความชัดเจนเช่นนี้ในหลายๆส่วน คนทั่วไป
จึงเรียกรัฐธรรมนูญนี้ว่า “รัฐธรรมนูญปราบโกง” หลายเรื่องที่ปรากฏใน
รัฐธรรมนูญนั้น ดูเผินๆ แล้วเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่เอาเข้าจริงแล้วเป็นเรื่องใหญ่มาก
ผมได้มีโอกาสไปพูดในงานวันต่อต้านคอร์รัปชัน 2560 เมื่อวันพุธที่
6 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับสาระสำคัญและแนวทางต่างๆ ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในเรื่องการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน
มาตรการเพิ่มเครื่องมือให้ประชาชนคืออะไร และได้พูดเรื่องเล็ก ที่เป็นเรื่องใหญ่
เช่นว่านี้หลายประเด็นเช่น
มาตรการที่กำหนดให้สื่อไม่โฉเกคืออะไร มาตรการสำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง
สำคัญๆ และที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งฟากที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างองค์กร
อิสระคืออะไร ถ้ารัฐบาลอุดหนุนสื่อในลักษณะซื้อโฆษณาที่มีเจตนาพิเศษนั้นมิใช่
แต่จะทำให้กลไกทางประชาธิปไตยพิการแต่มันคือ การทุจริต
ฉะนั้น การบัญญัติว่าในมาตรา 35 บางส่วนว่า “การให้เงินหรือทรัพย์สิน
อื่นเพื่ออุดหนุนกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทํามิได้
หน่วยงานของรัฐที่ใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินให้สื่อมวลชนไม่ว่าเพื่อประโยชน์ในการ
โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ หรือเพื่อการอื่นใดในทํานองเดียวกันต้องเปิดเผย
รายละเอียดให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินทราบตามระยะเวลาที่กําหนดและ
ประกาศให้ประชาชนทราบด้วย” จึงมีนัยในเรื่องการป้องกันการทุจริตในระบอบ
ประชาธิปไตยที่สำคัญ
การประชุมกลุมยอยที่ 3