Page 266 - kpi18886
P. 266
258
ในเวทีนั้นมิได้มีโอกาสขยายความอะไรแบบนี้ไว้ทุกประเด็นจึงขอยกตัวอย่าง
ไว้เพื่อบอกว่าแต่ละเรื่องแต่ละประเด็นนั้นมีรากหรือส่วนที่เป็นภูเขาน้ำแข็งที่จมน้ำ
อยู่อีกมาก ถ้าจะทำความเข้าใจในแต่ละประเด็นก็ต้องจารนัยไว้อีกมาก เนื่องจาก
มีข้อจำกัดดังกล่าวจึงขอนำเฉพาะบทสรุปตามที่เคยพูดในที่ต่างๆ มานำเสนอไว้พอ
เป็นกระษัยดังนี้
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีกลไกป้องกันนักการเมืองคอร์รัปชันไว้หลายประการ
เช่น ถ้าทุจริตเลือกตั้ง จะเอาคะแนนนิยมมาฟอกตัวไม่ได้ และกลับสู่การเมืองอีก
ไม่ได้ อีกทั้ง รัฐธรรมนูญยังส่งเสริมภาคเอกชน ประชาชนในการต้านทุจริตด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น ยังเขียนห้ามผู้บริหารองค์กรอิสระเข้าไปคลุกคลีกับผู้เข้าอบรม
หลักสูตรต่างๆ ที่จัดขึ้น หรือร่วมเดินทางไปต่างประเทศด้วย กรรมการ
ร่างรัฐธรรมนูญกังวลเรื่องนี้มาก การเรียนหลักสูตรคือช่องสมคบที่น่ากลัวในการ
เอื้อประโยชน์ จึงระบุเลยว่าผู้บริหารองค์กรอิสระต้องทำงานเต็มเวลา รัฐธรรมนูญ
และกฎหมายลูก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการตรวจสอบเยอะมาก เป็นการ
รื้อและจัดระบบใหม่ให้บูรณาการ
รัฐธรรมนูญมาตรา 63 ทำให้ต้องออกกฎหมายมาใหม่ซึ่งควรจะมีบทบาท
ในการสร้างเครื่องมือ ให้กับประชาชนในการตรวจสอบคอร์รัปชัน โดยเฉพาะ
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร การคุ้มครองพยานและอื่นๆ เรื่องงบโฆษณาภาครัฐ
ใส่ไว้แล้วในรัฐธรรมนูญว่า หน่วยงานรัฐที่ใช้จ่ายเรื่องนี้ต้องแจ้ง สตง.และมี
การเปิดเผย ที่ต้องพูดเรื่องประชาชนและสื่อมวลชน เพราะสองส่วนนี้เป็นกลไก
สำคัญในการป้องกันการคอร์รัปชัน สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆต่างๆ ที่เป็น
เจ้าหน้าที่รัฐก็มีการปรับปรุงกลไกการเข้าสู่ตำแหน่ง เช่น ปรับคุณสมบัติ ลักษณะ
ต้องห้าม วิธีเข้าสู่ตำแหน่ง ขณะดำรงตำแหน่งและการพ้นตำแหน่ง รวมทั้ง
มาตรการปฏิรูป อาทิ ปฏิรูปตำรวจ การพิสูจน์หลักฐาน เรื่องอายุความ ฯลฯ
ส่วนองค์กรตรวจสอบนั้น ยกเครื่องใหญ่ตั้งแต่คุณสมบัติ โครงสร้าง วิธีทำงาน
ฯลฯ และอีกครั้งหนึ่งก่อนหน้านี้ที่ได้มีโอกาสไปพูดในเวทีรัฐธรรมนูญกับการค้า
ระหว่างประเทศ ที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจัดขึ้น ในโจทย์ที่คล้ายกัน คือ
“รัฐธรรมนูญนี้มีมาตรการป้องกันคนทุจริตคอร์รัปชันอย่างไร ?” ผมได้สรุปให้
เวทีฟังไว้ซึ่งนึกได้ถึงเกือบ 30 เรื่อง ดังนี้
การประชุมกลุมยอยที่ 3