Page 260 - kpi18886
P. 260

252




               และมีความเสมอภาคในทางการเมือง 5) ที่สำคัญคือความแตกต่างหลากหลาย

               ที่อยู่กันได้ คิดต่างกันได้ แสดงออกต่างกันได้


                     เสรีนิยมประชาธิปไตยอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของไทย ประวัติศาสตร์โลก
               กล่าวไว้ว่าเป็นระบอบการปกครองที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดเพราะมีการถ่วงดุลกัน
               อยู่ในตัว การสู้กันอยู่ 2 ทางคือ คนกับองค์รวม individualism กับ collectivism
               ที่มองพฤติกรรมรวมหมู่ ส่วนรวมนิยม แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย คือ

               สมัยหนึ่งส่วนรวมเป็นวาติกัน และ อีกสมัยหนึ่งเป็นกษัตริย์ พ้นจากยุคนั้น
               เกิดเอกชน นายทุน แรงงาน และเมื่อมีการเอาเปรียบข่มเหงกรรมการ ชาวนา

               มาร์กซ์ (Marx) และเฮเกล (Hegel) เกิดแนวคิดรวมหมู่ – commune
               กรรมสิทธิ์ของเอกชนรวมหมู่เป็นส่วนรวม เมื่อเติ้งเสี่ยวผิงปรับตัว โซเวียตปรับตัว
               ช้าล่มสลายไป โลกกลับมาเป็น individualism ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ 911 โลกเริ่ม
               กลับมาพฤติกรรมรวมหมู่อีกในนามของคำว่า “ความปลอดภัย” (security) นี่คือ

               โลกที่เปลี่ยนไปมา แล้วไทยเป็นอย่างไร

                     ดุลอำนาจมีอยู่อย่างหลากหลายในสังคมไทยก่อนที่ระบอบประชาธิปไตย

               จะเกิดขึ้นและอยู่นอกขอบเขตที่รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรจะเข้าไปจัดการได้
               อย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญเป็นเพียงกติกาที่จะแก้ไขปัญหา ก่อน 2540 ปัญหา

               การเมืองไทยคือรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพเพราะเป็นรัฐบาลผสม รัฐธรรมนูญ
               2540 จึงพยายามทำรัฐบาลมีเสถียรภาพ เมื่อเสถียรภาพมากควบรวมอำนาจไว้
               รัฐธรรมนูญ 2550 พยายามมาแก้ไขปัญหาการมีเสถียรภาพมากเกินไปด้วย
               กำหนดให้มีองค์กรตรวจสอบมากมาย ดุลอำนาจก็เปลี่ยนไป รัฐธรรมนูญ 2560

               ที่มุ่งทางศาล รัฐธรรมนูญจะแก้ปัญหาได้หรือไม่ สุดท้ายแล้วคำตอบไม่ได้อยู่ที่
               รัฐธรรมนูญเพราะต่อให้เขียนดีเพียงใด หากเกิดความขัดแย้งขี้นในสังคมแล้ว
               หาทางออกปกติไม่ได้ทหารก็มาอีก ประชาธิปไตยไทยต้องใช้เวลาปรับ

               รัฐธรรมนูญเป็นวิวัฒนาการที่ต้องใช้เวลา ดังนั้น ขอตั้งคำถามว่าหากเราไม่ใช่
               ประชาธิปไตยเสรีนิยมแบบตะวันตกแน่ๆ แล้วประชาธิปไตยแบบไทยของเราได้ดุล
               หรือไม่ และเราจะดุลกลุ่มกี่กลุ่มให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และรัฐธรรมนูญฉบับ

               ปัจจุบันจะนำไปสู่การดุลอำนาจได้หรือไม่ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญพยายามที่จะให้ได้ดุล
               มากที่สุดเท่าที่ทำได้ มีความพยายามที่จะเอาองค์กรที่ไม่ได้อยู่ในรัฐธรรมนูญปกติ
               คือ นอกจาก นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แล้ว มี ผบ.เหล่าทัพ มาอยู่ใน




                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265