Page 305 - kpi18886
P. 305
297
การเข้าใจถึงหลักสิทธิมนุษยชนจะทำให้ทราบว่าสิทธิ เสรีภาพสำคัญ
อย่างไร และจะเป็นหลักประกันให้เชื่อมั่นว่าบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญทำให้
สิทธิ เสรีภาพของประชาชนจะได้รับความคุ้มครอง แล้วรัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพของเราเพิ่มขึ้นหรือลดลงในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 นี้
ในมิติสิทธิมนุษยชน นั้นเป็นหลักสำคัญกำหนดว่ามนุษย์ทุกคนต้อง
เท่าเทียมกัน การจะเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสีผิว เชื้อชาติ วัฒนธรรม เพศ
ศาสนา ไม่ได้ เวลาที่นักสิทธิมนุษยชนพูดถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
นั้นไม่ได้พูดแต่เรื่องสิทธิ แต่มีการพูดถึงหน้าที่ด้วย ฉะนั้นปฏิญญานี้ จะแบ่งเป็น
3 ส่วน ส่วนแรก เรื่องการห้ามเลือกปฏิบัติ สิทธิของทุกคนจะแบ่งแยกไม่ได้
โอนให้ใครไม่ได้ ใครเอาไปไม่ได้ ส่วนที่ 2 สิทธิของพลเมืองและการเมือง
สิทธิการได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมาย กฎหมายที่ต้อง
ไม่ซับซ้อนไม่ต้องตีความ เข้าใจได้ง่ายๆ ว่าสิทธิ เสรีภาพทุกคนเท่าเทียมกัน หากจะ
ยกเว้นก็ต้องเขียนข้อยกเว้น ไม่เขียนข้อยกเว้นปนกับหลักสิทธิ ส่วนที่ 3 สิทธิทาง
เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทุกคนต้องได้รับการประกันความมั่นคง มีโอกาส
พัฒนาทักษะของตน มีสิทธิทำงานใครจะบังคับไม่ได้ ส่วนที่ 4 ว่าด้วยหน้าที่ของ
บุคคลในสังคม บอกหน้าที่ของสังคม บอกหน้าที่ของรัฐ โดยต้องดำเนินการ
สร้างหลักประกันให้มีการคุ้มครองสิทธิ ออกมาเป็นกฎหมายและคุ้มครองได้
อย่างจริงจัง สำคัญกว่านั้นคือการมีสิทธินั้นต้องเคารพสิทธิของคนอื่นด้วย ฉะนั้น
เรื่องทรัพย์สินสาธารณะทุกคนต้องเคารพ
ประเด็นที่ 1 หลักประกันจึงยึดทั้งหลักกติการะหว่างประเทศและ
รัฐธรรมนูญ หลักประกันระหว่างประเทศในที่นี้คือหลักสิทธิมนุษยชน กติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งเป็น hard law คือ
บังคับได้หากไม่ปฏิบัติ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยเศรษฐกิจ สิทธิ สังคม
และวัฒนธรรม รวมถึงรัฐธรรมนูญปัจจุบันมาตรา 3 วรรค 2 และหน่วยงานของรัฐ
ที่มีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ รัฐประชาธิปไตยเป็นองค์ประกอบ
สำคัญของการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รัฐต้องรับรองประชาธิปไตย
สิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรม สรุปได้ว่า 1) หลักการพึ่งพากันระหว่าง
สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ประชาธิปไตยจะอยู่โดยไม่มีหลักสิทธิไม่ได้ และ
การประชุมกลุมยอยที่ 4