Page 302 - kpi18886
P. 302

294




               คสช. มีมาตรการบังคับในการดูแลทะเลมากขึ้น EU ต้องการสร้างความมั่นคงทาง

               อาหารและนำมาตรการ FAO มาใช้เพราะทะเลเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ใหญ่
               ที่สุดของมนุษยชาติ มาตรการความมั่นคงทางอาหารจึงแปรเป็น IUU fishing ที่มี
               ทั้งเรื่องแรงงานทาส การทำประมงแบบยั่งยืน เมื่อ EU เข้ามาใช้มาตรการบังคับ

               รัฐบาลจึงตื่นตัวใช้มาตรา 44 ยกเลิกอวนรุนจับปลาไปเมื่อประมาณปีกว่าที่ผ่านมา
               ทำให้ทะเลฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามยังคงเหลือ อวนลาก และ
               เรือปั่นไฟจับปลา ซึ่งต้องคิดว่าต้องทำอย่างไรต่อ


                     เรือปั่นไฟ พัฒนาจากฝั่งอันดามัน เพื่อใช้จับปลากระตักที่อยู่เป็นฝูง

               เวลากลางวัน เป็นปลาที่มีมูลค่าราคาดี และเมื่อต้องการจับกลางคืนจึงต้องปั่นไฟ
               เพื่อล่อให้ปลามา แต่การปั่นไฟดังกล่าวได้ทำให้ปลาอื่นมาเล่นไฟด้วย การจับ
               ปลากะตักจึงทำให้ปลาพันธ์อื่นๆ ลดลงไป ปลาทูที่ถูกจับก่อนโต ปลาอินทรีไม่มี
               อาหาร เกิดผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารของปลาทะเล จึงมีการประกาศยกเลิกเรือ

               ปั่นไฟทุกชนิด เมื่อ พ.ศ. 2526 แต่ในปี พ.ศ. 2539 สมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
               เป็นนายกรัฐมนตรี กลับมีการอนุมัติให้กลับมาใช้เรือปั่นไฟได้โดยผู้ได้
               ผลประโยชน์จากธุรกิจประมงพาณิชย์ จังหวัดสมุทรสาคร


                     ประเด็นสุดท้ายที่ต้องการในการปฏิรูปทะเลไทยเพื่อแหล่งอาหารในอนาคต

               คือการทบทวน เรื่องการผลิตปลาป่น ปลาป่นเป็นวัตถุสำคัญในการประกอบ
               อาหารสัตว์ ส่วนใหญ่ได้จากการนำลูกกุ้ง หอย ปู ปลา ที่ควรจะเป็นอาหาร
               ในอนาคตมาป่น ผสมกับข้าวโพด วิตามิน ใส่ anti-biotics และนำไปเป็นอาหาร
               สัตว์


                     การจับปลาป่นที่ไม่กระทบกับวิกฤติท้องทะเลมี 2 ส่วน คือ 1) ได้จาก
               การไปจับปลาเล็กปลาน้อย หรือ ปลาทูมา เรียกว่า by catch 2) ได้จาก

               เศษปลาที่เหลือจากการบริโภคและอุตสาหกรรม เรียกว่า by product


                     การผลิตปลาป่น 1 กิโลกรัม ได้จากปลาเล็กปลาน้อย 4 กิโลกรัม คือ
               การนำพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนที่กำลังโตไปทำปลาป่น ผลผลิตนี้ส่งออกขาย
               ต่างประเทศมากกว่าใช้ในประเทศ ดังนั้นควรยุติการจับปลาเล็กปลาน้อยแบบ

               by catch เพื่อนำมาทำปลาป่น เพื่อให้มีปลาและสัตว์ในทะเลเติบโตและเป็น
               แหล่งอาหารโปรตีนของอนาคต



                   การประชุมกลุมยอยที่ 4
   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307