Page 301 - kpi18886
P. 301
293
จำนวน 22 จังหวัด เป็นสัดส่วนถึง 80% ของชาวประมง ซึ่งอีก 15% เป็นของ
ประมงพาณิชย์ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ ข้อมูลทำให้เราเห็นว่าหากทะเลวิกฤต
จะกระทบคนหลายแสนครอบครัว หลายล้านคน เหตุเพราะปล่อยให้มีเครื่องมือ
จับสัตว์น้ำที่ทำร้ายล้างพันธ์สัตว์อย่างรุนแรงจนสูญพันธ์ ทั้งที่ทะเลไทยอยู่ใน
เส้นศูนย์สูตรที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และจำนวนสายพันธ์ของสัตว์น้ำ
มาก ขณะที่คนไทยสามารถจับปลาได้เก่งที่สุด เพราะรู้คลื่นลม รู้ทะเล รู้ทิศทาง
ดังนั้นหากไม่บริหารจัดการทะเลและการประมง ไม่มีการใช้วิชาการควบคุม
การประมง ความเก่งของคนไทยจะจัดการตัวเองคือจับหมด
ปัจจัยที่ 2 คือปัจจัยเรื่องนโยบายประมงตั้งแต่ พ.ศ. 2490 ที่เพิ่งได้รับ
การแก้ไขและประกาศใช้ได้เพียง 45 วันก็รัฐประหารและถูกยกเลิก จากนั้น
ออก พรบ.ประมง โดยคณะ คสช. ที่มีการแก้ไข พรบ. เล็กน้อยซึ่งไม่ส่งประโยชน์
ต่อการฟื้นฟูทะเลไทยเลย จากอดีตมีการพยายามลดการใช้เครื่องมือประมง
ที่ทำร้ายทะเลไทยอย่างน้อย 3 ตัว อวนลาก อวนรุน เรือปั่นไฟ ที่ทุกประเทศ
ยกเลิกการใช้หมดแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2523-2524 นักวิชาการกรมประมงพบการ
Overfishing จึงเสนอให้หยุดวิธีการประมงแบบทำลายล้าง ด้วยมาตรการต่างๆ
เช่น ไม่ต่อทะเบียนและไม่ต่ออาชญาบัตร อย่างไรก็ตามมีการเปลี่ยนแปลงโดย
ยกเลิกคำสั่ง และกำหนดข้อยกเว้น ทำให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ถึงที่สุด และ
เกิดความไม่เชื่อมั่นในกลไกของรัฐ ทั้งเรื่องของหัวคะแนนหรือการร่วมมือระหว่าง
ประมงผู้ได้ประโยชน์กับรัฐมนตรีไปประท้วงเพื่อกดดันให้รัฐยกเลิกการบังคับ
กฎหมาย เกิดการชุมนุมของประมงพาณิชย์และหยุดออกทะเล ปิดห้องเย็น
ส่งผลต่อเศรษฐกิจ ประชาชนเดือดร้อน รัฐบาลจึงยอม แต่ปัจจุบันที่ คสช.
ไม่ยอมเพราะมี EU เป็นเงื่อนไขอยู่
การใช้อวนลาก trawling net ในทะเลไทยที่เป็นทะเลโคลนที่มีพันธุ์สัตว์น้ำ
วัยอ่อนอยู่หน้าทะเล อวนลากทำให้สัตว์น้ำลดลงเรื่อยๆ รวมทั้งสปีชีส์ใหม่ๆ
ที่รอการค้นพบก็หายไปหมด ปัญหานี้ในปัจจุบันยังคงอยู่ ทำลายห่วงโซ่อาหารของ
ทะเล และทำลายแหล่งอาหารในอนาคตไปเรื่อยๆ
การใช้อวนรุน pushing net คือการลากไปข้างหน้าเป็นเครื่องมือที่ต้องอยู่
ใกล้ชิดชายฝั่งมากขึ้นจึงทำลายชายฝั่งทะเล หลังจากได้ใบเหลืองจาก EU ทำให้
การประชุมกลุมยอยที่ 4