Page 326 - kpi18886
P. 326
318
สร้างสังคมสันติสุข ?
ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และโฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
ประเด็นความปรองดองหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสังคมเกิดความ
สามัคคีเป็นประเด็นที่ยาก รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาตรา 35
บัญญัติเอาไว้ว่าเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่จะต้องหามาตรการ
หรือกลไกที่จะทำให้สังคมเกิดความปรองดอง เบื้องต้นมองความปรองดองว่าเป็น
ผล เมื่อความปรองดองเป็นผลจึงสะท้อนว่าต้องเริ่มต้นคิดตั้งแต่สาเหตุของการขัด
แย้ง ความไม่ปรองดองเกิดจากอะไร ส่วนหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง
ความไม่ลงตัวทางการเมือง ปัญหาทางการเมืองต้องแก้ในทางการเมือง แต่การแก้
ปัญหาทางการเมืองอาจเป็นปลายเหตุได้หากเข้าใจธรรมชาติของการเมืองที่ต้องมี
ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล เป็นกลุ่มที่ตรงกันข้ามกันเสมอ การเมืองจึงเป็นการสร้าง
การอยู่ร่วมกันระหว่าง 2 พวกที่ตรงข้ามกัน โดยธรรมชาติจะเรียกว่าปรองดอง
ก็คงไมได้ แต่มีวิธีทำให้เข้าใจว่าสมัยหนึ่งอาจเป็นรัฐบาล สมัยหนึ่งอาจเป็น
ฝ่ายค้านได้เสมอ เป็นไปตามกติกา การเมืองที่เล่นกันในสภาทุกคนเห็นตรงกันว่า
เสียงของประชาชน ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน ดังนั้นเกณฑ์ในทางการเมือง กรธ.
คงไม่เปลี่ยนแปลงอะไร แต่จะพยายามจะทำให้เกมการเมืองมีเหตุผลมากขึ้น
โดยเปลี่ยนเรื่องเสียงข้างมากให้คนสะท้อนว่าเสียงคนทั้งประเทศได้ 40 % ก็จะ
ได้ที่นั่ง 40% ของสภา ตามหลักการมีเสียงมากกว่า 50% หรือมากกว่ากึ่งหนึ่ง
การประชุมกลุมยอยที่ 6