Page 394 - kpi18886
P. 394
386
ท้องถิ่นพัฒนา และสำนักงานปฏิรูป, 2556 : 170) รวมถึงการมีช่องทาง
การสื่อสารผ่านการประชุมอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งการสื่อสาร
ด้วยการประชุมอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการเป็นการสื่อสารที่รู้จักกัน
เป็นอย่างดี เพราะการจัดประชุมอย่างเป็นทางการจะได้รับการสื่อสารข้อมูล
ทางตรงเกิดความชัดเจนในการถ่ายทอด และสามารถถ่ายทอดสมาชิกในแต่ละ
ครั้งได้จำนวนมาก ซึ่งการประชุมอย่างเป็นทางการเป็นการประชุมที่เกี่ยวข้องกับ
ภาครัฐและองค์กรชุมชน เช่น ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้กับ
องค์กรชุมชน ทหาร สาธารณสุข สภาเกษตร องค์กรชุมชน ประชุมกับสมาคม
ผู้หญิงเพื่อสันติภาพ (We Peace) เพื่อการจัดให้ความรู้สร้างการมีส่วนร่วม
ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถมีส่วนร่วมในการสร้าง
สันติภาพในสังคม
“พฤติกรรมการสื่อสารระหว่างองค์กรชุมชนกับภาครัฐนั้นมีการใช้
การประชุมค่อนข้างมาก และประสบความสำเร็จจากการใช้การประชุมร่วมกับ
สมาชิกกลุ่มโดยใช้วิธีการสื่อสารสองทาง การสื่อสารทั้งหลายยังอิงความเชื่อ และ
การยอมรับในเชิงวัฒนธรรม แต่อย่างไรก็ตามการประชุมในลักษณะได้มีส่วนร่วม
จะทำให้เกิดประโยชน์ที่สามารถให้ความรู้สึกถึงปัญหาความเดือดร้อนของผู้หญิง
และกลายเป็นหญิงหม้ายที่ขาดการดูแล ทางกลุ่มเข้าไปเยี่ยมเยือนหญิงหม้าย
ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงของครอบครัวหรือการกระทำของเหตุการณ์
ความไม่สงบ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การรวบรวมผู้หญิงมาสร้างกลุ่มเพื่อ
ปกป้องสิทธิสตรี และดูแลให้ความช่วยเหลือสตรีผ่านการแสดงความตระหนัก
ความเห็นอกเห็นใจในความเป็นมนุษย์ของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้”
(ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 4)
สรุปได้ว่า ปัจจัยการสื่อสารขององค์กรชุมชนกับภาครัฐเป็นปัจจัยที่มี
ความสำคัญในการลดความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การสื่อสาร
ระหว่างกันสามารถก่อให้เกิดความเข้าใจต่อกันได้ง่าย ด้วยกระบวนการวิธีการ
พูดคุย ช่องทางการสื่อสารมีมากมายหลายช่องทาง แต่ความเชื่อมั่น ความไว้
วางใจที่จะสื่อสารมีช่องทางน้อยด้วยข้อจำกัดของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มี
ความหวาดระแวงต่อการสื่อสารและการผูกโยงกับวิถีวัฒนธรรม อัตลักษณ์
บทความที่ผานการพิจารณา