Page 390 - kpi18886
P. 390

382




               สื่อคุณภาพที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวในการเกิดเหตุการณ์ หรือกระบวนการวิธี

               การแก้ไขปัญหาความรุนแรงได้อย่างเป็นรูปธรรม ยึดโยงกับความรู้ความเข้าใจ
               สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างชัดเจนที่สุด สื่อต้องสามารถสืบเสาะหา
               ข้อมูลความจริงเพื่อการถ่ายทอดถึงบุคคลที่ไม่อยู่และรับรู้เหตุการณ์ต่างๆ มาก่อน

               จากการศึกษายังพบอีกว่า การสื่อสารโดยส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการสื่อสาร
               ของภาครัฐผ่านหน่วยงาน องค์กร บุคคลของรัฐค่อนข้างมากในภาพการสื่อสาร
               ที่สามารถลดความรุนแรง รัฐใช้สื่อเพื่อสร้างการยอมรับจากภาคประชาชน

               แต่สำหรับองค์กรชุมชนมีการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายด้วยการสื่อสารจาก
               การพูดคุย วิทยุชุมชน เวทีการสื่อข้อมูลผ่านกิจกรรม โครงการที่สร้างความเข้าใจ
               ให้กับประชาชนทุกคนทุกฝ่ายอย่างเข้าใจซึ่งเป็นการสื่อสารจากประชาชนคนพื้นที่

               ที่อยู่ในพื้นที่ มองเห็นเหตุการณ์ การดำเนินการสถานการณ์เพื่อการลดความ
               รุนแรง สื่อเป็นทั้งวิธีการที่ใช้สื่อสาร และเครื่องมือสื่อสาร ซึ่งองค์กรชุมชน
               มีการใช้สื่อเพื่อเป็นการบอกถึงการทำงานในพื้นที่อย่างกว้างขวางในการสร้าง

               ความเข้าใจและพื้นที่การสื่อสารสาธารณะ

                       การสื่อสารขององค์กรชุมชนกับภาครัฐเพื่อการลดความรุนแรงใน

               สถานการณ์ความไม่สงบ จากการศึกษาพบว่า องค์กรชุมชนมีการใช้สื่อเพื่อ
               การสื่อสารกับภาครัฐในทุกรูปแบบ ตลอดเวลา ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ
               สื่อกระแสหลักที่สามารถใช้เพื่อการสื่อสารที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว รวมถึงสามารถ

               ใช้สื่อสารสร้างความเข้าใจในกระบวนการถ่ายทอดข้อมูลเพื่อการสร้าง
               การเคลื่อนไหว การระดมพลังเพื่อทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วนโดยผู้มีส่วนได้
               ส่วนเสียอย่างแท้จริง มีรูปแบบการสื่อสารแบบการใช้วาจา สื่อสาร ภาษา หรือ

               ที่เรียกอย่างเข้าใจว่า การพูด สื่อประเภทตัวบุคคลหรือการสื่อสารของบุคคลในกลุ่ม
               องค์กรชุมชน สื่อบุคคลมีอยู่และเกิดขึ้นอยู่ใน ชีวิตประจำวันและเป็นไปตาม
               ธรรมชาติของการที่มนุษย์ต้องมีการพูดคุย แสดงข้อคิดเห็นเพื่อเป็นการสื่อสาร

               แสดงความต้องการเพื่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
               อย่างได้ผล จากการศึกษายังพบอีกว่า คุณภาพของสื่อที่ให้ข้อมูลความจริง
               ความกระจ่างในสถานการณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล

               ที่ปรากฏทำให้เกิดความสับสน เพราะสถานการณ์ความไม่ไว้วางใจของข้อมูล
               ภาครัฐที่องค์กรชุมชนขาดความเชื่อมั่น จึงทำให้ไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อข้อมูล





                    บทความที่ผานการพิจารณา
   385   386   387   388   389   390   391   392   393   394   395