Page 392 - kpi18886
P. 392
384
และอาจเป็นข้อมูลที่อาจไม่ให้สาระความสำคัญมากนัก และ 4) จดหมายข่าว
แผ่นพับ หนังสือเวียน แผ่นปลิว หนังสือภายในหน่วยงานหรือองค์กรชุมชน
หน่วยงานภาครัฐที่จัดขึ้นตามรูปแบบที่กำหนดขึ้นมาอาจจะเป็นกึ่งราชการ
การสื่อสารเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรเมื่อมีการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ เหล่านี้แล้ว
จำเป็น ต้องมีการสรุปประเด็น สิ่งที่ได้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อการเผยแพร่ผลที่
เกิดจากการดำเนินการต่างๆ เพื่อการแก้ไขปัญหาในการลดความรุนแรงต่อไป
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า การสื่อสารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่ใช้และปรากฏอยู่มี 4 ประเภท คือ 1) การสื่อสารโดยลักษณะบุคคล ซึ่งมีความ
สำคัญมากที่สุด และเชื่อมร้อยด้วยอัตลักษณ์และกลไกผู้นำ 2) การสื่อสารผ่าน
พื้นที่อัตลักษณ์ 3) การสื่อสารผ่านเทคโนโลยีออนไลน์ และ 4) จดหมายข่าว
แผ่นพับ หนังสือเวียน แผ่นปลิว หนังสือภายในหน่วยงาน โดยพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ค่อนข้างจะมีปัญหาการสื่อสาร อันเนื่องมาจากการไม่พยายาม
พูดจาภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาราชการและส่วนใหญ่มีการพูดภาษายาวี
เพราะฉะนั้น ข้อจำกัดการสื่อสารจึงเป็นการสื่อสารในลักษณะวงแคบมีข้อจำกัด
พฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารไม่ค่อยเชื่อถือหน่วยงานภาครัฐและสื่อโทรทัศน์
ที่เป็นของประเทศไทย แต่จะรับฟังข่าวสารโทรทัศน์มาเลเซีย รวมถึง
การพูดคุยในพื้นที่ทางศาสนาในกลุ่มเดียวกันมากกว่าจะคุยหรือสื่อสารกับภาครัฐ
จึงเป็นความจำเป็นต้องมีการกระจายข่าว
“ลักษณะการสื่อสารขององค์กรชุมชนเป็นการสื่อสารที่สามารถ
สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย เป็นการพูดคุยตามพื้นที่สาธารณะ เช่น
ร้านน้ำชา กาแฟ สภากาแฟ หรือที่เล่นนกเขา นกกรง มีการพูดคุยในเรื่องปัญหา
ต่าง ๆ กับคนในกลุ่มที่พูดคุยประจำ แต่ไม่คุยกับคนแปลกหน้า และมักใช้ภาษา
ยาวี และมีการชอบฟังวิทยุ การสื่อสารผ่านหอกระจายข่าวในหมู่บ้านและ
การพูดคุยในเรื่องต่างๆ หลังเสร็จสิ้นภารกิจที่มัสยิด มีการพูดคุยถกเถียง
แลกเปลี่ยน ด้านอาชีพ ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมักสื่อสารผ่านพื้นที่
เชื่อมั่นและไว้วางใจว่าไม่มีคนนอก และเจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนคนที่พูดคือ แกนนำ
กลุ่มองค์กรอาชีพ องค์กรชุมชนเพื่อสื่อสารโครงการงบประมาณ และมักจะพูด
คุยในวงเดียวกันหรือกลุ่มพวกเดียวกัน ถ้ามีคนแปลกหน้าจะพูดอีกภาษา “ภาษา
ยาวี”เพื่อไม่ให้รู้ว่าคุยอะไรกัน ที่ให้เกิดความหวาดระแวงต่อกันของกลุ่ม
บทความที่ผานการพิจารณา