Page 395 - kpi18886
P. 395
387
สื่อสารด้วยภาษายาวี ดังนั้น เพื่อเกิดความเข้าใจและสามารถสื่อสารได้อย่าง
เชื่อใจและมั่นใจ จึงต้องสร้างกระบวนการสื่อสารของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันจะส่งผลต่อการลดความรุนแรงใน
สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้จริง
2.3 ปัจจัยการมีส่วนร่วมกระบวนการสันติภาพ จากการศึกษา
ความรุนแรงในสถานการณ์ความไม่สงบรายวันที่เกิดขึ้นทุกฝ่ายต้องการแก้ปัญหา
อย่างจริงจังและประสบความสำเร็จ ซึ่งกล่าวได้ว่าการมีส่วนร่วมเป็นปัจจัยที่มี
ความสำคัญปัจจัยหนึ่ง ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่ความสัมพันธ์ที่มีกับปัจจัยผู้นำ ความไว้
วางใจในการให้ความร่วมมือขององค์กรชุมชนกับภาครัฐ โดยในพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้เห็นได้อย่างชัดเจนเป็นพื้นที่ของวัฒนธรรมมุสลิมมลายู ซึ่งต้องมี
การศึกษากล่าวอ้างถึงและเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญอันนำไปสู่ความร่วมมือ
ระหว่างกันโดยการใช้ “กระบวนการอิสลาม” เป็นแนวทางการเดินเพื่อให้เกิดความ
เข้าใจในวิถีอิสลาม พร้อมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ร่วมกันอย่างยั่งยืน การขับเคลื่อนความร่วมมือบนฐานหลักปฏิบัติของ
มุสลิมอันเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นผู้นับถือศาสนาอิสลาม ความร่วมมือ
ที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกันสามารถสร้างความร่วมมือได้ด้วย
การสร้าง “กระบวนการมีส่วนร่วม” การมีส่วนร่วมภายใต้ อัตลักษณ์ของวิถีชีวิต
มุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย
“ปัญหาที่เกิดขึ้นชัดเจนว่า ไม่มีสาเหตุมาจากความต้องการ
แบ่งแยกดินแดนเป็นเพียงส่วนน้อย เพียงแค่ประมาณ 10 % แต่เป็นเรื่องของ
ผลประโยชน์ที่มีกับกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม ประชาชนทุกคนในพื้นที่ควรต้องช่วยกัน
ระมัดระวังสอดส่องร่วมมือกัน สร้างความสามัคคี ต้องมีกระบวนการสันติภาพ
โดยมีองค์กรประชาสังคมได้ร่วมพูดคุยปรึกษาหารือในวงที่ได้ร่วมพูดคุยสนทนา
และมีการพูดคุยเป็นทางการ เพื่อให้กลุ่มคิดต่างเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเป็นพื้นที่กลาง
ในการพูด คุยได้ มีวงการมีส่วนร่วมแต่เป็นการพูดปิดลับ มีข้อตกลงห้ามจับกุม
และเป็นการได้แลกเปลี่ยนในวงพูดคุย ซึ่งมีการพูดคุยกันตลอด และเป็นการเปิด
พื้นที่การมีส่วนร่วมที่ค่อนข้างเป็นความลับ แต่ควรจะมีตัวแทนองค์กรชุมชน
เข้าร่วมเจรจาสันติสุขของกระบวนการสันติภาพ”
(ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 5)
บทความที่ผานการพิจารณา