Page 427 - kpi18886
P. 427
419
บทนำ
การเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ได้มีการพัฒนาการเมืองมาแล้ว 85 ปี นับตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา
มีวิกฤตการณ์การเมืองของประเทศหลายครั้งหลายคราว ตลอดระยะเวลา
ที่ผ่านมามักมีการปฏิวัติ รัฐประหาร และมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ โดย
มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่หลายฉบับหากนับฉบับปัจจุบันเป็น
จำนวนทั้งสิ้น 20 ฉบับ ในการยกเลิกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในแต่ละ
ฉบับที่ผ่านมานั้น ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักการสำคัญของระบบการเมือง
การปกครอง หรือมิได้มีบทบัญญัติใดที่กำหนดขึ้นใหม่เพื่อใช้เป็นมาตรการป้องกัน
และแก้ไขปัญหาของระบบการเมืองเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่
อย่างไร หากแต่เป็นเพียงการกำหนดหลักการและกลไกของการเมืองการปกครอง
ในระบบรัฐสภาแบบดั้งเดิม (Classical Parliamentary System) ที่เป็นระบบ
อำนาจคู่ (Dualist) โดยมีหลักการสำคัญมุ่งเน้นให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุล
(Checks and Balances) การใช้อำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
อาจกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญของประเทศไทยทุกฉบับที่ผ่านมาล้วนแต่เป็น
รัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจและระบบการเมือง
การปกครองที่มีอยู่แล้วทั้งสิ้น (สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2547, น. 2)
การทุจริตและประพฤติมิชอบของนักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทาง
การเมืองไทยจากอดีตจวบจนปัจจุบันถูกมองจากสังคมว่า ได้กลายเป็นปัญหา
วิกฤติอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและประชาชนมาช้านาน เพราะผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้เกี่ยวข้องเพียงแค่อำนาจบริหารของรัฐบาล และเป็น
ตัวแทนของอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นทางในกระบวนการสรรหาของ
ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระและหน่วยงานของรัฐตามกระบวนการยุติธรรม
ต่างๆ ด้วย จึงทำให้นักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้ง
ข้าราชการและนักธุรกิจมีโอกาสเข้าแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมตามขั้นตอน
ต่างๆ ได้เพื่ออำนวยผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้องด้วย (รัตพงษ์
สอนสุภาพ, 2552)
บทความที่ผานการพิจารณา