Page 428 - kpi18886
P. 428
420
องค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International-TI) ได้
จัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจำปี 2559 (Corruption
Perceptions Index : CPI 2016) ปรากฏว่า ประเทศไทยได้ 35 คะแนน จาก
คะแนนเต็ม 100 คะแนน อยู่อันดับที่ 101 จากการจัดอันดับทั้งหมด 176
ประเทศทั่วโลก (Transparency International, 2016) หากพิจารณาย้อนหลัง
อันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์ 5 ปีย้อนหลังจะพบว่าประเทศไทยมีลำดับคะแนน
ที่น่าเป็นห่วงอย่างมากเรื่องความโปร่งใส ดังนี้
ตารางที่ 1 อันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันของไทย
2559 2558 2557 2556 2555
ประเทศ
คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน
ไทย 35 38 38 35 37
สืบเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองไทยในหลังการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 อันมีสาเหตุประการหนึ่งมาจากการทุจริต
โครงการของรัฐบาลและนักการเมือง จนนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมืองและนำไป
สู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ภายหลัง
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้มีความเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศในด้าน
ต่างๆ เช่น ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมาย
ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ
โดยเฉพาะการปฏิรูประบบการเมืองที่ขาดประสิทธิภาพในทุกๆด้าน และการแก้ไข
ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมือง จนในที่สุดได้มีการประกาศใช้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หรือ “รัฐธรรมนูญฉบับ
ปราบโกง” มีการวางกลไกการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยเฉพาะ
ในด้านการเมืองที่มีความเข้มข้นเป็นพิเศษ ที่เน้นบทลงโทษนักการเมืองที่ทุจริต
และมีกลไกตรวจสอบดำเนินการให้พ้นจากตำแหน่งทั้งจากรัฐสภาและองค์กร
อิสระ รวมทั้งการควบคุมรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐไม่ให้เกิดนโยบาย
ประชานิยม ซึ่งได้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา
บทความที่ผานการพิจารณา