Page 425 - kpi18886
P. 425
417
บทความที่ได้รับผลการประเมินในระดับผ่านให้ตีพิมพ์
ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 19
กลไกตามรัฐธรรมนูญ :
นักการเมืองไทยไร้ทุจริต อุดมการณ์และความท้าทาย
Constitutional Mechanisms: Thai Incorruptible Politicians - Idealism and
Challenge
อาจารย์อภินันท์ ทะสุนทร
อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ
การทุจริตของนักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไทย ถือว่า
เป็นปัญหาเรื้อรังในสังคมไทย ส่งผลเสียต่อประเทศอย่างมหาศาลและ
เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในทุกมิติ ที่ผ่าน
ประเทศไทยได้พยายามแก้ปัญหาการทุจริตอย่างต่อเนื่องด้วยการวางกลไกต่างๆ
ในรัฐธรรมนูญ มีการบูรณาการแก้ไขปัญหาการทุจริตร่วมกันทุกภาคส่วน
แต่ปัญหาการทุจริตก็ไม่มีท่าทีจะลดลงไปแม้แต่น้อย
ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงได้วาง
กลไกในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มแข็งมากกว่าทุก
รัฐธรรมนูญที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงถูกเรียกว่า รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง
กลไกตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้มุ่งเน้นการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
โดยเฉพาะด้านการเมืองที่มีความเข้มข้นเป็นพิเศษ ด้วยมาตรการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริต ดังนี้ มาตรการที่ 1 เพื่อป้องกันคนที่มีมลทินเคยทุจริตไม่ให้
เข้าสู่การเมือง มาตรการที่ 2 มีกลไกดำเนินการให้พ้นจากตำแหน่งทางการเมือง
ด้วยกระบวนการทางการเมือง มาตรการที่ 3 ให้องค์กรอิสระรักษาวินัยการเงิน
การคลังของรัฐควบคุมไม่ให้เกิดนโยบายประชานิยม
บทความที่ผานการพิจารณา