Page 61 - kpi20125
P. 61
4.4 การติดตามและประเมินผล
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ออกแบบเครื่องมือศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติต่อความ
ปลอดภัยทางถนนของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และได้ให้นักเรียนได้ประเมินตนเอง โดยเปรียบเทียบผล
การประเมินตนเองก่อนและหลังด าเนินโครงการมีผลดังนี้
4.4.1 โรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์
(1) ข้อมูลทั่วไป (N = 69 คน)
เพศ: นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 58.0 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 42.0 เป็นเพศ
หญิง
ระดับการศึกษา: นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ก าลังศึกษาในระดับชั้น ม.3 (ร้อย
ละ 39.1) รองลงมา คือ ม.2 (ร้อยละ 36.2) และ ม.1 (ร้อยละ 24.6)
ระยะในการเดินทางจากบ้านถึงโรงเรียน: นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ อยู่ห่าง
จากโรงเรียนไม่เกิน 2 กิโลเมตร (ร้อยละ 40.6) รองลงมา คือ ห่างจากโรงเรียน 2-5 กิโลเมตร (ร้อยละ
34.8) และ ห่างจากโรงเรียนมากกว่า 5 กิโลเมตร (ร้อยละ 24.6)
วิธีการเดินทางจากบ้านถึงโรงเรียน: นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ เดินทางโดยนั่ง
รถประจ าทาง (ร้อยละ 43.5) รองลงมา คือ นั่งรถจักรยานยนต์รับจ้าง และ ขับขี่รถจักรยานยนต์มาเอง
(ร้อยละ 15.9) โดยในจ านวนของนักเรียนที่ระบุว่า ขับขี่รถจักรยานยนต์มาเองนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ยังมี
ประสบการณืการขับขี่ไม่ถึง 1 ปี (ร้อยละ 72) และ ยังไม่มีใบอนุญาตขับขี่เลย ในส่วนพฤติกรรมการขับ
ขี่รถจักรยานยนต์พบว่า ส่วนใหญ่สวมหมวกนิรภัยบ้างบางครั้ง (ร้อยละ 70) และจะขับรถเร็วเสมอ เมื่อ
ถนนโล่ง
(2) เปรียบเทียบพฤติกรรมด้านความปลอดภัยทางถนนของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
ในภาพรวมภายหลังการด าเนินกิจกรรมเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน นักเรียนที่เข้าร่วม
โครงการมีแนวโน้มของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจ าวัน เกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนดีขึ้น
ทุกด้าน โดยพฤติกรรมที่นักเรียนมีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ในการปฏิบัติ “บ่อยครั้ง หรือ ท าทุก
ครั้ง” เพิ่มขึ้น คือ เรื่อง การข้ามถนนตรงทางม้าลาย (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29 เป็น ร้อยละ 45.1)
รองลงมา คือ การข้ามถนนโดยใช้สะพานลอย (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.8 เป็น ร้อยละ 46.8) และ คาดเข็ม
ขัดนิรภัยทันทีเมื่อนั่งรถยนต์ (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17.4 เป็น ร้อยละ 29.1) รายละเอียดสามารถสรุปได้ดัง
ตารางต่อไปนี้
50