Page 64 - kpi20125
P. 64
4.4.2 วิทยาลัยเทคนิคชัยนาท
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ออกแบบเครื่องมือศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติต่อความปลอดภัยทาง
ถนนของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการและได้ให้นักเรียนได้ประเมินตนเอง เปรียบเทียบผลการประเมินตนเอง
ก่อนและหลังด าเนินโครงการมีผลดังนี้
(1) ข้อมูลทั่วไป (N = 47 คน)
เพศ: นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 88.8 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 11.3 เป็นเพศ
หญิง
ระดับการศึกษา: นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ก าลังศึกษาในระดับชั้น ปวส.
(ร้อยละ 91.3) และ ปวช. (ร้อยละ 8.8)
ระยะในการเดินทางจากบ้านถึงโรงเรียน: นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ อยู่ห่าง
จากโรงเรียนมากกว่า 5 กิโลเมตร (ร้อยละ 83.8) รองลงมา คือ ห่างจากโรงเรียนไม่เกิน 2 กิโลเมตร (ร้อย
ละ 8.8) และ ห่างจากโรงเรียน 2-5 กิโลเมตร (ร้อยละ 7.5)
วิธีการเดินทางจากบ้านถึงโรงเรียน: นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ขับขี่
รถจักรยานยนต์มาเอง (ร้อยละ 77.5) รองลงมา คือ นั่งรถประจ าทาง (ร้อยละ 6.3) เดินเท้าและผู้โดยสาร
มาส่งโดยรถยนต์ (ร้อยละ 5) นักเรียนที่ตอบว่าขับขี่รถจักรยานยนต์มาเองนั้น พบว่า ส่วนใหญ่มี
ประสบการณ์การขับขี่มากกว่า 5 ปี (ร้อยละ 47.5) และมีจ านวนไม่น้อยที่มีประสบการณ์ขับขี่ 3-5 ปี
(ร้อยละ 28.8) และ ส่วนใหญ่มีใบอนุญาตขับขี่มาแล้ว 1-3 ปี (ร้อยละ 35) ในส่วนพฤติกรรมการขับขี่
รถจักรยานยนต์พบว่า ส่วนใหญ่สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่ (ร้อยละ 60) และจะขับรถเร็วบ้างเมื่อ
ถนนโล่ง (ร้อยละ 37.5)
(2) เปรียบเทียบพฤติกรรมด้านความปลอดภัยทางถนนของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
ในภาพรวมภายหลังการด าเนินกิจกรรมเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน นักเรียนที่เข้าร่วม
โครงการมีแนวโน้มของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจ าวัน เกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนดีขึ้น
ทุกด้าน โดยพฤติกรรมที่นักเรียนมีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ในการปฏิบัติ “บ่อยครั้ง หรือ ท าทุก
ครั้ง” เพิ่มขึ้น คือ เรื่อง การสวมหมวกนิรภัยเมื่อขับขี่หรือซ้อนจักรยานยนต์ (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29.8
เป็น ร้อยละ 84.9) รองลงมา คือ เรื่อง การข้ามถนนโดยเคารพสัญญานไฟจราจร (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.4
เป็น ร้อยละ 84.5) และคาดเข็มขัดนิรภัยทันทีเมื่อนั่งรถยนต์ (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17 เป็น ร้อยละ 69.7)
รายละเอียดสามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้
53