Page 55 - kpi20207
P. 55
54
ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานการมีหลักฐานอ้างอิง หลักฐานอ้างอิงที่ดีที่สุดต้อง
ประกอบด้วยข้อแนะนำาที่พิสูจน์ได้ มีความโปร่งใสในการอธิบายข้อเสนอ
แนะหรือข้อแนะนำาของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่นำามาใช้และไม่นำามาใช้ประกอบ
การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีหลักประกัน
ว่าการมีส่วนร่วมตลอดวงจรการวางแผนและนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ทุกฝ่ายได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องได้รับเวลาพอ
สมควรในการแสดงความคิดเห็นหรือการเตรียมการเพื่อแสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้ การปรึกษาหารือสาธารณะต้องมีความครอบคลุม คำานึง
ถึงนโยบายการแก้ไขที่เกี่ยวข้องทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบ
ด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเข้ามามีส่วนร่วมในทุกประเด็น
มีการเชื่อมโยงการทำางานที่สอดคล้องกัน การปรึกษาหารือสาธารณะและ
การประเมินจะต้องมีการเตรียมการจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความเหมาะสม
ในการให้ความช่วยเหลือ การให้ความสำาคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์
และการสังเกตการณ์ มีความโปร่งใสและปราศจากอคติในกระบวนการ
ปรึกษาหารือสาธารณะเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือ การประเมินผลกระทบ
และการปรึกษาหารือควรถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ รวมทั้งต้องใช้ทรัพยากร
ในกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะอย่างเหมาะสม ทั้งทรัพยากรบุคคล
และงบประมาณ
กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(stakeholder consultation) เป็นกระบวนการที่คณะกรรมาธิการยุโรป
ให้ความสำาคัญ โดยมีองค์ประกอบในการดำาเนินกระบวนการสามารถ
แบ่งออกได้เป็น 6 ส่วน ดังนี้
01-142 PublicConsult_ok.indd 54 22/6/2562 BE 17:26