Page 163 - kpi20756
P. 163
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 1
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
ทางการเมืองแบบพลเมืองให้เกิดขึ้นกับประชาชน อันเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบใหม่ จะเห็น
ได้ว่าประชาชนมิได้มีวัฒนธรรมแบบพลเมืองที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นผลมาจาก
การกล่อมเกลาทางการเมืองโดยตัวแทน หรือสถาบันต่างๆ ดังนั้นจึงต้องมีองค์กรและสถาบัน
ต่างๆ ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมแบบพลเมืองให้กับผู้คน อันได้แก่ ครอบครัว ชุมชน
สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน ฯลฯ พร้อมกับการสร้างจิตสำนึกแบบพลเมืองให้เกิดขึ้น เพื่อนำไป
สู่การสร้างสังคมประชาธิปไตยที่มีความเสมอภาคและเท่าเทียม นั่นคือการแก้ไขปัญหาความ
เหลื่อมล้ำทางสังคมเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่ต้องเอาใจใส่ และมีความรับผิดชอบร่วมกันที่
จะเข้าไปดำเนินการ จะหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธความรับผิดชอบของตนหาได้ไม่ การแก้ไขปัญหา
ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ไม่อาจทำให้สำเร็จได้ด้วยอำนาจของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ความสำเร็จ
เกิดจากความใฝ่ฝันร่วมกันด้วยพลังหรือแรงขับเคลื่อนของสังคม และการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ
จะเกิดผลอย่างกว้างขวางมากขึ้น ต่อเมื่อพลเมืองได้รับการเสริมพลังอำนาจขึ้นมาเพื่อเข้าถึง
ทรัพยากรต่างๆ ได้ในท้ายที่สุด เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2