Page 159 - kpi20756
P. 159
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 1
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
เท่าเทียมกัน แต่ทั้งนี้ต้องมีองค์กรและสถาบันต่างๆ ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมทาง
การเมืองให้แก่ผู้คนในสังคม อันได้แก่ ครอบครัว ชุมชน สถาบันทางการศึกษาทุกระดับ สถาบัน
ศาสนา องค์กรภาคประชาสังคม สื่อมวลชน สถานที่ทำงาน หน่วยงานของรัฐบาล ผู้นำชุมชน
และผู้นำทางการเมืองที่เป็นแบบอย่างที่ดี ที่จะต้องเข้ามามีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ปลูกฝัง
“วัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมือง” พร้อมด้วยการสร้าง “จิตสำนึกแบบพลเมือง” (Civic
Consciousness) ให้เกิดขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาประชาธิปไตยไปได้ อันจะทำให้
สังคมไทยมีประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพมากขึ้น และหลุดพ้นจากวงจรแห่งความชั่วร้ายและความ
64
เหลื่อมล้ำทางสังคม ดังที่ปรากฏอยู่
นักวิชาการไทยกล่าวว่า การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมืองให้เกิดขึ้นในสังคม
ไทย ถึงแม้นจะต้องใช้เวลานาน แต่ทว่ามีความจำเป็นและมีความสำคัญยิ่ง เพราะวัฒนธรรม
ทางการเมืองแบบพลเมืองถือเป็นรากฐานสำคัญในการแก้ไขปัญหาสังคมการเมือง โดยเฉพาะ
ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ต้องผนึกกำลังร่วมกันแก้ไข เพราะฉะนั้นการจะเปลี่ยนแปลง
ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อพื้นฐานของผู้คนในสังคมไทยที่มีอยู่ดั้งเดิม ในลักษณะของวัฒนธรรม
ทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า (subject political culture) ที่ประชาชนมักเป็นผู้รอรับคำสั่งจากฝ่ายรัฐ
เพียงอย่างเดียว และมักมีส่วนร่วมน้อยในการแก้ไขปัญหาสาธารณะให้เป็นวัฒนธรรมทางการเมือง
แบบใหม่ หรือวัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมืองขึ้นได้นั้น จะต้องค่อยๆ ดำเนินการและ
ต้องปลูกฝังจากทุกภาคส่วนในสังคม 65
มีผลงานการศึกษาวิจัยจำนวนมาก พบว่า กระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมือง
ของสถาบันทางสังคมต่างๆ มีอิทธิพลต่อการปลูกฝังวัฒนธรรมทางการเมืองแบบใดแบบหนึ่งให้
เกิดขึ้นแก่สมาชิกในสังคมได้ ดังนั้น หากเราต้องการพัฒนาให้ระบอบประชาธิปไตยของไทย
มีความเสมอภาค และสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ สถาบันที่เป็นตัวแทนต่างๆ
ในสังคม (agents) จะต้องมีบทบาทสำคัญในการอบรมกล่อมเกลาให้คนเรายึดมั่นในหลักการ
ปกครองของระบอบประชาธิปไตยที่มีความเสมอภาคและความเท่าเทียมดังกล่าว
ในอดีตถึงแม้ว่าจะมีบทบัญญัติทางกฎหมาย ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2550 ที่ขยายความถึงบทบาทของประชาชน จากที่เคยเป็นเพียง “ผู้รอคอยดู” มาสู่การ
“เป็นผู้มีส่วนร่วม” ได้ทำให้ประชาชนกลายเป็นพลเมืองอย่างเต็มรูปแบบ หรือแม้กระทั่งใน
ปัจจุบันกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2560 ที่รับรองสิทธิของ
ประชาชน เช่น สิทธิของประชาชนที่จะมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกระบวนการกำหนดนโยบาย
66
ออกกฎหมายที่จะมีผลกระทบต่อตัวเอง แต่ประชาชนเองกลับมิได้ตอบสนองสิทธิอันพึงมีเท่าที่ควร
64 พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2557). “วัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย”.
วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ (ฉบับปฐมฤกษ์) พ.ศ. 2557. หน้า 83 - 91.
65 ชัยอนันต์ สมุทวณิชและคณะ. (2553). วัฒนธรรมพลเมือง. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11, (2) (22). 7 - 10. เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2
66 ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้นจาก https://
www.ilaw.or.th.